Page 88 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 88
ลงโทษทางอาญา หรือทำาให้เสียสิทธิที่พึงได้รับ หรือกฎหมายภายใน
ประเทศอาจเป็นกฎเกณฑ์ที่มีขึ้น เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการบริหาร
ปกครองขององค์กรของรัฐ เป็นต้น
ในด้านสิทธิมนุษยชน คำานี้ใช้เพื่อแยกให้เห็นความแตกต่างระหว่าง
กฎเกณฑ์ที่ใช้ในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือระหว่างประเทศ หรือที่
เรียกว่า “กฎหมายระหว่างประเทศ” (ดู INTERNATIONAL LAW)
กับกฎเกณฑ์ที่ใช้ภายในของรัฐ หรือ “กฎหมายภายในประเทศ” เป็นหลัก
กฎหมายว่ารัฐมีพันธะหน้าที่ระหว่างประเทศตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ที่จะต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ดังนั้นรัฐต้องใช้มาตรการต่าง ๆ
รวมทั้งการทำาให้กฎหมายภายในประเทศสอดคล้องกับกฎหมายระหว่าง
ประเทศ
ในกรณีที่รัฐเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศ รัฐต้องอนุวัติ
กฎหมายภายในให้สอดคล้องกับสนธิสัญญา โดยรัฐไม่อาจอ้างว่าไม่สามารถ
ปฏิบัติตามสนธิสัญญา เนื่องจากไม่มีกฎหมายภายในหรือขัดต่อกฎหมาย
ภายในได้
คำาที่เกี่ยวข้อง INTERNATIONAL LAW, TREATY, OBLIGATION
DOUBLE JEOPARDY การฟ้องซ้ำาในคดีอาญา
หลักกฎหมายอเมริกาที่รับรองสิทธิของบุคคลที่จะไม่ถูกฟ้องให้รับโทษซ้ำา
ในความผิดเดียวกัน ซึ่งได้บัญญัติไว้ในบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
บทที่เจ็ด มีใจความว่า จะไม่มีบุคคลใดถูกทำาให้ได้รับอันตรายแก่ชีวิต
หรือร่างกายซ้ำาเนื่องมาจากกระทำาความผิดที่เหมือนกัน (“No person
shall … be subject for the same offence […] to be twice put
in jeopardy of life or limb.”)
คำานี้มีความหมายอย่างเดียวกับภาษิตกฎหมาย “ne bis in idem”
หรือ “หลักไม่พิจารณาโทษสองครั้งในการกระทำาความผิดเดียวกัน” อันเป็น
หลักกฎหมายทั่วไปที่มีมานับแต่ยุคกรีก โรมัน และได้รับการรับรองไว้
เป็นหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศต่าง ๆ กล่าวอีกนัยหนึ่ง
77