Page 36 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 36
การใช้คำานี้ในความหมาย “พยายามกระทำาความผิด” จะวางไว้หน้าฐาน
ความผิดนั้น เช่น Attempted Murder (พยายามฆ่า) Attempted Robbery
(พยายามปล้นทรัพย์) Attempted Rape (พยายามข่มขืนกระทำาชำาเรา)
อนึ่ง ความรับผิดทางอาญาเริ่มต้นเมื่อมีการลงมือกระทำาความผิด
โดยประกอบกับมีเจตนาในการกระทำา โดยทั่วไปเพียงแต่คิด หรือตระเตรียม
การกระทำาความผิดยังไม่มีความผิดทางอาญา เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้
เป็นการเฉพาะให้มีความผิดในขั้นตระเตรียมการ ซึ่งเกี่ยวกับความผิดที่ร้ายแรง
เช่น ความผิดฐานวางเพลิง ฐานกบฏ หรือฐานก่อการร้าย
ATTORNEY- 1. อัยการสูงสุด
GENERAL 2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
1. อัยการสูงสุด ตำาแหน่งในฝ่ายบริหาร เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด
ของพนักงานอัยการ ซึ่งมีอำานาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำาเนินคดีฟ้องร้อง
ผู้กระทำาความผิดอาญา เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายของรัฐบาล รวมถึง
การเป็นทนายให้กับรัฐบาลในกรณีที่ประเทศไทยเป็นโจทก์หรือจำาเลย
ในการดำาเนินคดีระหว่างประเทศ บางทีจึงเรียกว่า “ทนายแผ่นดิน” คำานี้
มักใช้กับประเทศที่ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ในบางครั้งจะใช้คำาว่า
Solicitor-General ส่วนในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ที่มีหน้าที่ฟ้องบุคคลและดำาเนินคดีในศาลมักใช้คำาว่า Prosecutor
แต่เดิมในประเทศไทยสำานักงานอัยการสูงสุด (Office of the
Attorney-General) เป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงมหาดไทย
เรียกว่า กรมอัยการ (Department of Attorney) โดยมี “อธิบดีกรมอัยการ”
เป็นผู้บริหารสูงสุด ต่อมาได้แยกกรมอัยการออกจากกระทรวงมหาดไทย
มาเป็นหน่วยงานราชการอิสระอยู่ภายใต้การกำากับดูแลของนายกรัฐมนตรี
โดยตรง และได้ตั้งตำาแหน่ง “อัยการสูงสุด” ขึ้น
สำานักงานอัยการสูงสุดของประเทศไทย มีอำานาจหน้าที่สำาคัญ
ในทางบริหารของสำานักงาน เช่น การบริหารงานบุคคลของสำานักงานอัยการ
สูงสุด การบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุ
ของสำานักงาน นอกจากนี้อัยการสูงสุดยังทำาหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบ
25