Page 33 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 33
กรณีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐ เมื่อคู่พิพาทตกลงใช้วิธีการระงับข้อพิพาท
โดยการอนุญาโตตุลาการแล้ว ก็จะทำาความตกลงเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ
เพื่อกำาหนดขอบเขตและประเด็นปัญหาที่จะให้วินิจฉัยรวมถึงข้อตกลง
เกี่ยวกับการจะปฏิบัติตามคำาวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ คำาชี้ขาด (Award)
ของอนุญาโตตุลาการจะผูกพันรัฐคู่พิพาท
กรณีที่เป็นการอนุญาโตตุลาการที่เป็นข้อพิพาทระหว่างบุคคล คู่พิพาท
จะตกลงกันทำาสัญญาที่เรียกว่า “สัญญาอนุญาโตตุลาการ” (Arbitration
Agreement) โดยคู่พิพาทสามารถตกลงที่จะใช้สัญญาอนุญาโตตุลาการได้
เฉพาะคดีแพ่งที่เกี่ยวกับธุรกิจและการค้า และถ้าคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติ
ตามคำาตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการ คู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่งสามารถ
นำาสัญญาอนุญาโตตุลาการไปยื่นต่อศาลภายใน ศาลต่างประเทศ หรือศาล
อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศแล้วแต่กรณี
การระงับข้อพิพาทโดยการอนุญาโตตุลาการเป็นวิธีที่นิยมแพร่หลายกัน
ทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการลงทุนและธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
ตลอดจนการขนส่งระหว่างประเทศ เป็นต้น
ARREST จับกุม / ควบคุมตัว
การจำากัดเสรีภาพของบุคคลที่กระทำาโดยเจ้าพนักงาน หรือบุคคลธรรมดา
ที่มีอำานาจในการจับกุม โดยมีเหตุเชื่อว่าบุคคลนั้นกระทำาความผิดอาญา
มาตรฐานสิทธิมนุษยชนกำาหนดว่าการจับกุมบุคคลจะทำาโดยพลการมิได้
การจับกุมจะต้องมีเหตุอันเชื่อได้ตามสมควร (Probable Cause) ว่าบุคคลนั้น
กระทำาผิด และจะต้องมีกระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมาย การจับกุม
โดยพลการเป็นการละเมิดสิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัยของร่างกาย
หรือ The Right to Liberty and Security of Person (ดู UDHR ข้อ 3
และ ICCPR ข้อ 9)
ตามกฎหมายไทย การจับกุมบุคคลจะต้องมีหมายจับที่ออกโดยศาล
เว้นแต่กรณีที่บุคคลนั้นกำาลังกระทำาความผิดอยู่หรือกำาลังจะกระทำาความผิด
ในการจับกุมไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตามจะต้องไม่ใช้กำาลังเกินความจำาเป็น
หรือจงใจให้ผู้ถูกจับกุมได้รับอันตราย
22