Page 32 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 32
ARBITRARY ตามอำาเภอใจ / โดยพลการ
การกระทำา การวินิจฉัยสั่งการ การตัดสินคดีที่ไม่ได้อยู่บนหลักกฎหมาย
ไม่มีเหตุผลที่สนับสนุนอย่างพอเพียง ปราศจากกฎเกณฑ์ที่แน่นอน หรือ
ปราศจากความชอบธรรม
คำาว่าตามอำาเภอใจ / โดยพลการไม่ได้หมายความแต่เพียงการกระทำา
ที่ปราศจากกฎหมาย หรือปราศจากความชอบธรรมเท่านั้น แต่รวมถึงการใช้
กฎหมายที่ปราศจากเหตุผลที่ชอบธรรมด้วย
นอกจากนั้น ในทางเกี่ยวกับการพิจารณาคดี คำานี้หมายถึงกระบวนการ
พิจารณา วินิจฉัย ตัดสินหรือสั่ง โดยไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมาย
อันเป็นเหตุให้ศาลสูงมีอำานาจเปลี่ยนแปลงหรือทำาลายคำาพิพากษา
และคำาสั่งของศาลล่างได้ ส่วนในทางบริหาร หมายถึง การใช้อำานาจ
ของฝ่ายบริหาร การออกคำาสั่ง คำาวินิจฉัยของฝ่ายบริหาร การออกข้อกำาหนด
กฎระเบียบที่ไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมาย หรือไม่มีเหตุผล ซึ่งเป็นเหตุ
ให้ศาลยุติธรรม หรือศาลปกครองใช้อำานาจทบทวนคำาสั่ง คำาวินิจฉัย
และสั่งให้คำาสั่งคำาวินิจฉัยดังกล่าวไม่มีผลบังคับได้ (ดู JUDICIAL REVIEW)
คำานี้ใช้เป็นคำาคุณศัพท์ประกอบกับคำานามเพื่อแสดงว่าการกระทำานั้น
เป็นการกระทำาตามอำาเภอใจ / โดยพลการ เช่น “Arbitrary detention
is unacceptable in a democratic society” (การคุมขังตามอำาเภอใจ /
การคุมขังโดยพลการเป็นสิ่งที่สังคมประชาธิปไตยไม่ยอมรับ) หรือจะใช้เป็น
กริยาวิเศษก็ได้ เช่น “He was arrested arbitrarily” (เขาถูกจับกุม
โดยอำาเภอใจ / โดยพลการ)
ARBITRATION การอนุญาโตตุลาการ
การระงับข้อพิพาทระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือระหว่างรัฐกับรัฐ
โดยคู่พิพาทตกลงกันมอบปัญหาข้อพิพาทให้กับคนกลาง ซึ่งเรียกว่า
อนุญาโตตุลาการ (Arbitrator) พิจารณาวินิจฉัย อนุญาโตตุลาการอาจมี
คนเดียวหรือหลายคนก็ได้
21