Page 34 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 34
กฎหมายกำาหนดว่าผู้จับกุมสามารถใช้กำาลังป้องกันตนเองหรือผู้อื่น
ให้พ้นจากอันตราย ที่กำาลังจะเกิดขึ้นจากการกระทำาของผู้ถูกจับกุมได้
ถ้าการใช้กำาลังนั้นไม่เกินความจำาเป็น (ดูหลักการป้องกันตนเอง (Principle
of Self-defence))
เจ้าพนักงานจะควบคุมตัวผู้ถูกจับกุมไว้ได้ไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง
แต่อาจขออนุญาตศาลขยายระยะเวลาในการควบคุมตัวไว้เพื่อการสอบสวนได้
เป็นระยะ ๆ ทั้งนี้ เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินแปดสิบสี่วัน
เจ้าพนักงานที่จับกุมหรือควบคุมตัวผู้อื่นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จะต้องรับผิดในทางอาญา และผู้ที่ถูกจับกุมตัวสามารถขัดขืนป้องกัน
การจับกุมได้ไม่ถือว่าเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
คำาที่เกี่ยวข้อง PROBABLE CAUSE, ARBITRARY ARREST,
THE RIGHT TO LIBERTY AND SECURITY OF PERSON, ARREST
WARRANT
ASSAULT การประทุษร้าย
การกระทำาโดยเจตนาที่เป็นการทำาร้าย หรือข่มขู่ว่าจะทำาร้ายบุคคล
ให้ได้รับอันตรายแก่กาย จิตใจ ชื่อเสียง อิสรภาพ หรือทำาให้ทรัพย์สิน
ของบุคคลที่ถูกกระทำาได้รับความเสียหาย
คำานี้ใช้ประกอบกับการกระทำาลักษณะอื่น เพื่อกำาหนดฐานความผิด
เช่น การประทุษร้ายต่อร่างกาย ทำาให้ได้รับอันตราย (Assault Causing
Bodily Harm หรือ Bodily Assault) การประทุษร้ายโดยใช้อาวุธ (Assault
with a Weapon) ประทุษร้ายต่อเสรีภาพ ประทุษร้ายต่อชื่อเสียง ประทุษร้าย
ต่อทรัพย์สิน เป็นต้น
ในกฎหมายคอมมอนลอว์ การประทุษร้ายเป็นความผิดอาญาฐานหนึ่ง
ในกฎหมายอาญาของไทย “การประทุษร้าย” เป็นคำาที่ใช้ประกอบการแสดง
เจตนาว่าจำาเลยกระทำาโดยไม่มีอำานาจตามกฎหมาย และมีเจตนาทำาให้เกิด
ความเสียหายโดยการใช้กำาลัง ประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทยได้
นิยามคำาว่า ใช้กำาลังประทุษร้าย ไว้ว่า
23