Page 31 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 31
APPEAL 1. การเรียกร้อง 2. อุทธรณ์
1. การเรียกร้อง ในความหมายทั่วไป หมายถึง การกระทำาเพื่อเรียกร้อง
ขอความเห็นใจ ความช่วยเหลือ หรือความร่วมมือจากบุคคลอื่น
ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น การเรียกร้องต่อสาธารณชนเพื่อขอรับ
บริจาคเงิน หรือการเรียกร้องของเกษตรกรเพื่อขอให้รัฐบาล
ช่วยเหลือประกันราคาพืชผลทางการเกษตร
2. อุทธรณ์ ในความหมายเกี่ยวกับกฎหมาย หมายถึง การยื่นเรื่อง
อย่างเป็นทางการต่อองค์กรใดเพื่อขอให้เปลี่ยนแปลงคำาวินิจฉัย
คำานี้เมื่อใช้เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความ หมายถึง การคัดค้านคำาตัดสิน
หรือคำาวินิจฉัย ที่เป็นประเด็นในคดีอย่างเป็นทางการต่อศาลที่มีอำานาจ
รับอุทธรณ์ การคัดค้านคำาพิพากษาศาลชั้นต้นเรียกว่า “อุทธรณ์” ส่วนการ
คัดค้านคำาพิพากษาศาลอุทธรณ์เรียกว่า “ฎีกา” การอุทธรณ์ หรือการฎีกา
จะต้องยื่นที่ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีนั้น การอุทธรณ์จะต้องทำาภายใน
กำาหนดเวลา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย คือ หนึ่งเดือน
นับแต่วันที่มีคำาพิพากษา โจทก์หรือจำาเลยจะต้องอุทธรณ์ภายในกำาหนด
ถ้าเลยระยะเวลาดังกล่าวถือว่าคดีสิ้นสุด แต่อาจขอให้ศาลอนุญาตขยายเวลาได้
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์มีสิทธิคัดค้านคำาสั่งได้
ภายในสิบห้าวันนับแต่ทราบคำาสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ เมื่อศาล
อุทธรณ์มีคำาสั่งเช่นใดแล้วถือว่าคำาสั่งนั้นเป็นที่สุด
กรณีที่จำาเลยถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำา จำาเลยอาจยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา
ต่อพัสดีเพื่อให้พัสดีส่งไปยังศาลก็ได้
สำาหรับคดีปกครอง การอุทธรณ์คำาวินิจฉัยของศาลปกครองต้องยื่น
ที่ศาลปกครองชั้นต้น คำาพิพากษาศาลฎีกาและคำาวินิจฉัยของศาลปกครอง
สูงสุดถือเป็นที่สุดจะอุทธรณ์มิได้
คำาที่เกี่ยวข้อง JUDGMENT, SUPREME COURT, COURT OF
APPEAL, COURT OF FIRST INSTANCE
20