Page 35 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 35
“ทำาการประทุษร้ายแก่กาย หรือจิตใจ ของบุคคล ไม่ว่าจะทำาด้วยการ
ใช้แรง กายภาพ หรือด้วยวิธีอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการกระทำาใด ๆ
ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ไม่ว่า
จะโดยใช้ยา ทำาให้มึนเมา สะกดจิต หรือใช้วิธีอื่นใด อันคล้ายคลึงกัน”
อนึ่ง มีผู้แปลคำาว่า “ใช้กำาลังประทุษร้าย” ตามประมวลกฎหมายอาญา
ว่า “To Commit an Act of Violence”
ในกฎหมายสิทธิมนุษยชน การบัญญัติความผิดเกี่ยวกับการประทุษร้าย
บุคคลในด้านต่าง ๆ เป็นมาตรการทางกฎหมายของรัฐ เพื่อดำาเนินการ
คุ้มครองสิทธิของบุคคลอันเป็นหน้าที่ (Duty) ในการปฏิบัติตามพันธะหน้าที่
ในการเคารพ (Obligation to Respect) ตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
ด้านสิทธิมนุษยชน
ATTEMPT การพยายามกระทำาความผิด (กฎหมายอาญา)
ในกฎหมายอาญา หมายถึง การกระทำาโดยเจตนาของบุคคลที่ประสงค์
ต่อผลอันเป็นการขัดต่อกฎหมายอาญา โดยได้ลงมือกระทำาไปแล้วแต่กระทำาไป
ไม่ตลอด หรือกระทำาไปตลอดแล้วแต่การกระทำานั้นไม่บรรลุผล กฎหมาย
ถือว่าบุคคลนั้นพยายามกระทำาความผิด
กฎหมายอาญามีวัตถุประสงค์ในการควบคุมพฤติกรรมของบุคคลไม่ให้
กระทำาการที่เป็นภยันตรายต่อสังคม จึงกำาหนดให้บุคคลมีความผิดทางอาญา
แม้ความเสียหายจะยังไม่เกิดขึ้น
ในกฎหมายสิทธิมนุษยชน การที่รัฐลงโทษผู้พยายามกระทำาความผิด
ที่ได้สัดส่วนกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ถือว่าสอดคล้องกับพันธะหน้าที่
ของรัฐในการเคารพ (Duty to Respect) และหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครอง
(Duty to Protect) สิทธิของปัจเจกชน
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 กำาหนดให้ผู้พยายามกระทำา
ความผิดรับโทษสองในสามส่วนของความผิดที่กฎหมายได้กำาหนดไว้ แต่ถ้า
การกระทำานั้นไม่อาจบรรลุผลได้เลย เช่น การใช้ปืนไม่มีกระสุนยิง กฎหมาย
กำาหนดให้รับโทษไม่เกินครึ่งหนึ่งของความผิด
24