Page 28 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 28
หรือองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สำานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน
แห่งสหประชาชาติ หรือต่อศาลสิทธิมนุษยชน เช่น ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป
โดยมีเจตนาให้เยียวยาการละเมิดสิทธินั้น โดยไม่แสดงชื่อผู้ร้องเรียน
แนวปฏิบัติทั่วไปขององค์กรที่มีหน้าที่รับเรื่องราวร้องเรียนการละเมิด
สิทธิมนุษยชนจะกำาหนดให้แสดงชื่อผู้ร้องเรียนไว้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
รับคำาร้องเรียน ดังนั้น จดหมายสนเท่ห์ / คำาร้องเรียนที่ไม่ลงชื่อผู้ร้อง
จะไม่ได้รับการพิจารณาให้รับไว้ดำาเนินการ (ดู ADMISSIBILITY)
อานตีโกเน (ชื่อคน) /
ANTEGONE บทละครเรื่อง “อานตีโกเน”
บทละครโศกนาฏกรรม เขียนโดยโซโฟคลีส (Sophocles) นักปรัชญา
ชาวเอเธนส์ ที่มีชีวิตอยู่ระหว่าง 497 - 406 ปีก่อนคริสตกาล (หรือประมาณ
พ.ศ. 86 - พ.ศ. 137) เป็นเรื่องเกี่ยวกับหญิงสาวชื่ออานตีโกเนที่ยอมสละชีวิต
ตนเอง เพื่อคัดค้านคำาสั่งของกษัตริย์ครีออนผู้เป็นลุงที่ห้ามไม่ให้ทำาพิธี
ฝังศพของพี่ชายของเธอที่ตายเนื่องจากการต่อสู้เพื่อแย่งชิงราชสมบัติ
อานตีโกเนได้ยกกฎธรรมชาติขึ้นคัดค้านคำาสั่งของกษัตริย์โดยอ้างว่า
สิ่งที่เธอทำานั้นสอดคล้องกับกฎของพระเจ้าซึ่งเป็นกฎนิรันดร์ และสูง
กว่ากฎหมายของกษัตริย์ และเธอยอมตาย เพื่อรักษาสิ่งที่ตนเองเห็นว่า
เป็นความชอบธรรมทั้ง ๆ ที่เธอมีโอกาสแต่งงานกับลูกชายของกษัตริย์ครีออน
บทละครเรื่อง อานตีโกเน ได้สะท้อนปรัชญาแนวคิดเกี่ยวกับ
สิทธิธรรมชาติของมนุษย์ที่มีมานานกว่าสองพันปีและต่อมาได้พัฒนา
เป็นสิทธิมนุษยชนในปัจจุบัน นอกจากนั้นบทละครนี้ยังได้เชื่อมโยงจริยศาสตร์
ที่เกี่ยวกับเรื่องการเสียสละตนเอง เพื่อต่อสู้กับสิ่งที่ตนเห็นว่าชอบธรรม
กับการต่อสู้เรียกร้องของนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในยุคต่าง ๆ
นักปรัชญาได้ชี้ให้เห็นว่ามโนธรรมเกี่ยวกับความถูกต้อง “ความชอบธรรม”
หรือ “ความยุติธรรม” นั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกยุคทุกสมัย เช่น ดร. มาร์ติน ลูเธอร์คิง
จูเนียร์ นายเนลสัน แมนเดลา มหาตมะ คานธี และ นางออง ซาน ซูจี
สำาหรับประเทศไทยมีตัวอย่างเช่น นายทองใบ ทองเปาด์ เป็นต้น
คำาที่เกี่ยวข้อง HUMAN RIGHTS DEFENDERS, NATURAL LAW
17