Page 254 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 254

พนมยงค์ ส่ง ดร.ป๋วย ไปเจรจาให้รัฐบาลอังกฤษ ยอมรับว่าขบวนการ
            เสรีไทยเป็นรัฐบาลอันชอบธรรมของไทย  เมื่อสงครามโลกยุติ  ดร.ป๋วย
            เรียนต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยลอนดอน  จนสำาเร็จการศึกษา
            ใน พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948)


                  ดร.ป๋วย  เข้ารับราชการครั้งแรกในกระทรวงการคลัง  ต่อมาในปี
            พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) ดร.ป๋วย ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ
            ของปลัดกระทรวงการคลัง  และกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
            ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ดำารงตำาแหน่ง รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
            ดร.ป๋วย  อึ๊งภากรณ์  ดำารงตำาแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
            เป็นเวลา 12 ปี นับเป็นผู้ว่าการที่อยู่ใน ตำาแหน่งนานที่สุด


                  ในปี  พ.ศ.  2507  (ค.ศ.  1964)  ดร.ป๋วย  เข้ารับตำาแหน่งคณบดี
            คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง และจะลาออก
            จากตำาแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยแต่ถูกนายกรัฐมนตรี
            ยับยั้งไว้ จนกระทั่งวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) ดร.ป๋วย
            จึงได้ลาออกจากตำาแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย  รวมเวลาที่
            ดำารงตำาแหน่ง  12  ปี  2  เดือน  4  วัน  เพื่อมารับตำาแหน่งคณบดี
            คณะเศรษฐศาสตร์อย่างเต็มตัวและได้เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัย
            ธรรมศาสตร์ในเวลาต่อมา


                  วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) ตำารวจ ทหารและกลุ่มกระทิงแดง
            ได้ทำาการปิดล้อมและใช้อาวุธยิงถล่มเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
            เพื่อสลายการชุมนุมทางการเมืองของนักศึกษา  โดยไม่สนใจต่อขอร้อง
            ของผู้ชุมนุม  ที่ต้องการเจรจาโดยสันติ  มีผู้ชุมนุมบาดเจ็บและล้มตาย
            เป็นจำานวนมาก  อาจารย์ป๋วย  จึงออกแถลงการณ์ลาออกจากตำาแหน่ง
            อธิการบดีมหาวิทยาลัย  เพื่อแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
            มหาวิทยาลัยได้ให้อาจารย์ป๋วยเดินทางออกนอกประเทศ  เนื่องจาก
            ฝ่ายขวากำาลังล่าตัวอาจารย์ป๋วย  ก่อนที่จะมีการรัฐประหารที่นำาโดย
            พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะ



                                                                        243
   249   250   251   252   253   254   255   256   257   258   259