Page 249 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 249
การส่งหมายเรียกผู้ต้องหาให้มาศาลจะต้องส่งให้แก่ผู้ต้องหาโดยตรง
หรือให้แก่สามี ภรรยา ญาติ หรือผู้ปกครองของผู้ที่ถูกหมายเรียกเท่านั้น
บุคคลที่ไม่มาศาลเมื่อมีหมายเรียก จะมีความผิดอาญาฐานขัดหมายศาล
YOGYAKARTA PRINCIPLES หลักการยอกยาการ์ตา
คำาเรียกย่อของ “หลักการว่าด้วยการใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่าง
ประเทศในประเด็นเกี่ยวกับความโน้มเอียงทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ”
(Principles on the Application of International Human Rights Law
in relation to Sexual Orientation and Gender Identity) ซึ่งเป็นหลักการ
ด้านสิทธิมนุษยชนที่จัดทำาขึ้นให้เป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อส่งเสริม
และคุ้มครองสิทธิของบุคคลเกี่ยวกับความโน้มเอียงทางเพศ (Sexual
Orientation) และอัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity) ตามมาตรฐาน
กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
หลักการดังกล่าวเกิดจากการประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย
สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และองค์กรต่าง ๆ ที่ทำางานด้านสิทธิความ
หลากหลายทางเพศจากทั่วโลกที่เมืองยอกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
ใน ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) ทั้งนี้เนื่องจากยังมีการเลือกปฏิบัติทั้งในทางกฎหมาย
และในทางปฏิบัติต่อบุคคล ซึ่งมีสาเหตุมาจากความหลากหลายทางเพศที่
ยังดำาเนินอยู่ในทุกประเทศ เช่น การมีกฎหมายกำาหนดให้การมีเพศสัมพันธ์
กับคนเพศเดียวกันเป็นการลามกอนาจารมีความผิดอาญา บางประเทศมีโทษ
ถึงประหารชีวิตหรือจำาคุกตลอดชีวิต กฎหมายของประเทศต่าง ๆ ยังไม่ได้
คุ้มครองบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ดังนั้นบุคคลเหล่านี้จึงมัก
ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงทางร่างกาย หรือถูกทำาให้ได้รับความอับอาย
โดยไม่มีโอกาสได้รับการเยียวยา
นอกจากนั้นยังมีหลายประเทศที่มีการลิดรอนสิทธิบุคคลข้ามเพศ
บุคคลที่รักเพศเดียวกันมักถูกสังคมตั้งข้อรังเกียจเดียดฉันท์อันเป็นความคิด
ที่ถูกครอบงำา โดยความเชื่อที่ว่ามนุษย์มีเพียงเพศหญิงและชาย เช่น
การห้ามบุคคลที่เป็นชายรักชายรับราชการ และมีเพียงไม่กี่ประเทศที่มีการรับรอง
การสมรสระหว่างบุคคลเพศเดียวกัน
238