Page 21 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 21
ALIBI (Latin) การอ้างฐานที่อยู่เป็นข้อแก้ตัว
ออกเสียงว่า อาล-ลี-ไบ (al-eh-bi) เป็นคำาละติน แปลว่า “อ้างว่า
อยู่ที่อื่น”
คำากล่าวอ้างของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำาผิดว่าขณะที่ความผิดอาญา
เกิดขึ้นตนไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุ ดังนั้นตนจึงไม่ใช่เป็นผู้กระทำาผิด ตามหลัก
กฎหมายบุคคลผู้อ้างฐานที่อยู่เป็นข้อแก้ตัวจะต้องแสดงหรืออ้างฐาน
ที่อยู่อื่นประกอบข้ออ้าง
ALIEN คนต่างด้าว
คำานี้ความหมายทั่วไป หมายถึง บุคคลที่ไม่ได้เป็นพลเมืองของประเทศ
ที่ตนเองอาศัยอยู่ ส่วนความหมายเฉพาะ ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.
2508 (ค.ศ. 1965) หมายถึง ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยโดยนัยนี้คนต่างด้าวจึงหมายถึง
1. คนที่เป็นพลเมืองของประเทศอื่น หรือเป็นคนที่ถือสัญชาติของรัฐหนึ่ง
แต่ได้เข้ามาอาศัยในดินแดนของอีกรัฐหนึ่งไม่ว่าจะโดยชั่วคราว
หรือถาวรรวมถึงผู้อพยพ ผู้พลัดถิ่น หรือแรงงานข้ามชาติ
2. คนไร้สัญชาติ หรือคนไร้รัฐ (Stateless Person) ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่มี
สัญชาติของรัฐใดเลย และในขณะเดียวกันก็ไม่ได้รับอนุญาตให้มีสิทธิ
อาศัยในรัฐ ดังนั้นคนกลุ่มนี้จึงอาจจะเกิดและอาศัยอยู่ในดินแดน
ของประเทศหนึ่งแต่กฎหมายของประเทศนั้นไม่ยอมรับสถานะว่า
มีสัญชาติ
ระบบสิทธิตามกฎหมายมหาชนของทุกประเทศจะแยกคนต่างด้าว
จากคนที่เป็นพลเมือง (ดู CITIZENSHIP) สิทธิหลายอย่างคนต่างด้าวจะไม่มีสิทธิ
เท่าเทียมกับคนที่เป็นพลเมือง และคนต่างด้าวอาจถูกจำากัดสิทธิบางประการได้
เช่น สิทธิในการถือครองที่ดิน สิทธิในการเดินทาง สิทธิในการตั้งถิ่นฐาน
เสรีภาพในการประกอบอาชีพ สิทธิที่จะได้รับสวัสดิการทางสังคม เป็นต้น
อย่างไรก็ตามรัฐจักต้องปกป้องสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานบางอย่าง
แก่คนต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในดินแดนของรัฐในฐานะที่บุคคลเหล่านั้นเป็นมนุษย์
10