Page 17 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 17

ศาลปกครองของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่ง
            ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (ค.ศ. 1997) และมีระเบียบวิธีพิจารณา
            คดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
            พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) มีฐานะเทียบเท่าศาลยุติธรรมแบ่งออกเป็นสองระดับ
            คือ “ศาลปกครองชั้นต้น” และ “ศาลปกครองสูงสุด” ผู้พิพากษาศาลปกครอง
            เรียกว่า “ตุลาการศาลปกครอง”

                  การแยกศาลปกครองออกจากศาลยุติธรรมเพื่อให้เป็นสถาบันตุลาการ
            ที่มีความชำานาญเฉพาะด้าน  เนื่องจากคดีปกครองเป็นการพิพาทระหว่าง
            รัฐกับราษฎรคู่ความในคดีจึงมีฐานะไม่เท่ากัน  ดังนั้นแนวคิดของการระงับ
            ข้อพิพาทและกระบวนการพิจารณาจึงแตกต่างจากการพิจารณาคดีพิพาท
            ทั่วไป  กล่าวคือในคดีทั่วไปที่พิจารณาโดยศาลยุติธรรมจะใช้ระบบกล่าวหา
            ในขณะที่การพิจารณาคดีในศาลปกครองจะใช้วิธีไต่สวน  อันเป็นการ
            เปิดโอกาสให้ศาลปกครองได้แสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อปรับใช้กฎหมายต่าง  ๆ
            ในการอำานวยความยุติธรรมให้กับคู่ความอย่างเต็มที่

                  ศาลปกครองมีบทบาทสำาคัญในการตีความข้อกฎหมายเกี่ยวกับ
            การรับรองสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดผลในการใช้จริง
            ตลอดจนการวางหลักเกณฑ์ให้ใช้อำานาจของฝ่ายบริหารเพื่อไม่ให้เกิด
            ความเสียหายต่อปัจเจกชน
                  คำาที่เกี่ยวข้อง ADMINISTRATIVE CASE, COURT OF JUSTICE,
            CONSTITUTIONAL COURT



                                                       การคุมขัง
              ADMINISTRATIVE DETENTION
                                                 โดยอำานาจฝ่ายบริหาร

                  การควบคุมตัวบุคคลที่ทำาโดยอำานาจของฝ่ายบริหาร การควบคุมตัวไม่ได้
            กระทำาโดยอำานาจศาล หรือไม่ได้ถูกตั้งข้อหาว่ากระทำาความผิดทางอาญาในฐานะ
            “ผู้ต้องหา” แต่ถูกจับกุมและควบคุมตัวตามกฎหมายที่ให้อำานาจฝ่ายบริหาร ซึ่งอาจ
            เกิดขึ้นในสถานการณ์ปกติ หรือ สถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อความจำาเป็นในการบริหาร
            สาธารณะของฝ่ายบริหาร เช่น ความจำาเป็นในการป้องกันภยันตรายที่อาจเกิดขึ้น
            ต่อสังคมหรือกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม เช่น การควบคุมตัวผู้ที่หลบหนี

           6
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22