Page 18 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 18
เข้าเมือง ควบคุมตัวบุคคลที่เชื่อว่าปลุกปั่นยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
ในสังคม
การคุมขังโดยฝ่ายบริหารมักจะควบคุมตัวบุคคลไว้ในสถานที่ที่แยก
ต่างหากจากบุคคลซึ่งถูกดำาเนินคดีอาญาและถูกตั้งข้อหาว่าทำาความผิดทาง
อาญาแล้ว
แม้การคุมขังโดยฝ่ายบริหารสามารถทำาได้ในบางกรณีแต่การคุมขัง
โดยไม่มีวัตถุประสงค์ที่ชอบธรรม หรือการควบคุมตัวบุคคลเป็นระยะเวลา
นานเกินจำาเป็นถือว่าเป็นการจับกุมคุมขังที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ กรณีนี้
ศาลอาจมีหมายเรียกให้บุคคลที่ควบคุมตัวต้องนำาบุคคลที่ถูกคุมขังมาไต่สวน
พิจารณาความชอบธรรมของการควบคุมตัว เพื่อเป็นการป้องกันการใช้
อำานาจอันมิชอบของฝ่ายบริหาร นอกจากนั้นแม้ว่าการคุมขังจะทำาโดยชอบ
ด้วยกฎหมาย รัฐต้องประกันสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานให้แก่บุคคลที่ถูกคุมขัง
อีกด้วย
คำาที่เกี่ยวข้อง HABEAS CORPUS, ARRESTED PERSON,
ARBITRARY DETENTION
AFFIRMATIVE MEASURE มาตรการเชิงยืนยันสิทธิ
มาตรการทางนโยบาย กฎหมาย หรือการปฏิบัติที่ให้สิทธิประโยชน์
พิเศษแก่กลุ่มบุคคลที่ด้อยสิทธิ หรือกลุ่มที่เสียเปรียบบางกลุ่ม เช่น เด็ก
สตรี คนยากจน หรือชนกลุ่มน้อย เพื่อให้กลุ่มดังกล่าวได้รับประโยชน์
จากการมีสิทธินั้นอย่างแท้จริง เช่น การให้เงินสงเคราะห์แก่เด็กชาวเขา
เพื่อสนับสนุนให้เข้าโรงเรียน การกำาหนดสัดส่วนของสตรีในองค์ประกอบ
ของคณะกรรมการต่าง ๆ หรือการให้มีสุขาพิเศษสำาหรับคนพิการ เป็นต้น
การใช้มาตรการเชิงยืนยันสิทธิจึงเป็น “การปฏิบัติที่แตกต่าง” แต่
ไม่ถือว่าเป็น “การเลือกปฏิบัติ” ตามหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนการใช้มาตรการ
เชิงยืนยันสิทธิมีเงื่อนไขสองประการคือ
• มีเหตุผลที่ชอบธรรมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ใช้มาตรการ
ที่แตกต่างกัน
7