Page 16 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 16
สำาหรับประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2550 (ค.ศ. 2007) มาตรา 90 กำาหนดให้การตราพระราชบัญญัติเป็นอำานาจ
ของรัฐสภา และเมื่อรัฐสภาเห็นชอบกับร่างดังกล่าวแล้วก็จะทูลเกล้าฯ
ถวายพระมหากษัตริย์ เพื่อให้ลงพระปรมาภิไธย เมื่อพระมหากษัตริย์
ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วจะประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อใช้บังคับ
เป็นกฎหมายต่อไป
คำานี้ในประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขจะใช้ว่า “พระราชบัญญัติ”
ส่วนในประเทศที่ไม่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขจะใช้ว่า “รัฐบัญญัติ”
ADMINISTRATIVE CASE คดีปกครอง
ข้อพิพาททางกฎหมายระหว่างหน่วยงานราชการหรือองค์กรของรัฐ
หรือระหว่างบุคคลกับหน่วยงานราชการหรือองค์กรของรัฐ อันเนื่องมาจาก
การกระทำาหรือการละเว้นการกระทำาขององค์กรของรัฐหรือเจ้าพนักงาน
ของรัฐที่เกิดขึ้นจากการใช้หรือไม่ใช้อำานาจหน้าที่
“คดีปกครอง” เป็นเงื่อนไขสำาคัญที่ศาลปกครอง (Administrative
Court) ใช้พิจารณาว่ามีอำานาจรับคดีนั้นไว้พิจารณาได้หรือไม่ ถ้าคดีนั้น
ไม่ใช่คดีปกครองจะไม่อยู่ในอำานาจของศาลปกครอง
อนึ่ง คำาว่าองค์กรของรัฐ หมายถึง หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ
หน่วยงานของราชการส่วนท้องถิ่น แต่ไม่รวมฝ่ายนิติบัญญัติ
คำาที่เกี่ยวข้อง LEGISLATIVE BRANCH, ADMINISTRATIVE
COURT, COURT OF JUSTICE, CONSTITUTIONAL COURT
ADMINISTRATIVE COURT ศาลปกครอง
องค์กรตุลาการที่มีอำานาจหน้าที่พิจารณาคดีพิพาททางกฎหมาย
ระหว่างหน่วยงานราชการ หรือระหว่างองค์กรของรัฐ หรือคดีพิพาท
ระหว่างหน่วยงานราชการ องค์กรของรัฐกับเอกชน หรือที่เรียกว่า
“คดีปกครอง” (ดู ADMINISTRATIVE CASE)
5