Page 197 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 197

ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  (ICCPR)  ข้อ  9
            กำาหนดว่า

                  “มิให้ถือเป็นหลักทั่วไปว่าจะต้องควบคุมบุคคลที่รอการพิจารณาคดี
            แต่การปล่อยตัวอาจกำาหนดให้มีการประกันว่าจะมาปรากฏตัวในการพิจารณาคดี
            ในขั้นตอนอื่นของกระบวนการพิจารณา  และจะมาปรากฏตัวเพื่อการบังคับ
            ตามคำาพิพากษา”

                  กฎหมายไทยกำาหนดให้มีการอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวเป็นหลัก และการ
            ไม่อนุญาตเป็นข้อยกเว้น การสั่งไม่ปล่อยชั่วคราวจะกระทำาได้เมื่อมีเหตุอันควร
            เชื่อว่าผู้ต้องหา  หรือจำาเลยจะหลบหนีไป  หรือจะไปก่ออันตรายประการอื่น
            หรือปล่อยไปแล้วบุคคลนั้นจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะเป็นอุปสรรค
            ต่อการสอบสวนหรือการดำาเนินคดี
                  การปล่อยชั่วคราวจะกำาหนดให้มีหลักประกันด้วยหรือไม่ก็ได้ รัฐธรรมนูญ
            ของหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยได้บัญญัติห้ามการเรียกหลักประกันสูงเกิน
            ความจำาเป็น หลักประกันจะกำาหนดเป็นจำานวนเงินที่บุคคลต้องจ่าย หรือกำาหนด
            เป็นทรัพย์สินก็ได้ และอาจจะกำาหนดให้บุคคลที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวนั้น
            ต้องมารายงานตัวเป็นระยะ ๆ ได้



              SEARCH POWERS / POWERS TO SEARCH  อำานาจค้น

                  อำานาจที่กฎหมายมอบให้กับเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่เฉพาะในการค้นตัว
            บุคคล  หรือสิ่งของ  รวมถึงการเข้าไปในเคหสถานของบุคคลเพื่อป้องกัน
            อาชญากรรม  หรือให้ได้หลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของบุคคล  ในการค้น
            กฎหมายจะให้อำานาจเจ้าพนักงานในการยึดสิ่งของที่สงสัยว่าบุคคลนั้นได้ใช้
            หรืออาจจะใช้ในการกระทำาความผิด  หรือเป็นสิ่งของที่ได้มาจากการกระทำา
            ความผิด ดังนั้นจึงมีคำาที่ใช้เรียกอำานาจนี้ว่า “Search and Seizure”
                  ในการค้นตัวบุคคล หรือสิ่งของ หรือการเข้าไปในเคหสถานเพื่อการค้น
            ถือว่าเป็นการรบกวนสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล  ดังนั้นกฎหมาย
            จึงกำาหนดเงื่อนไขที่เคร่งครัดในการดำาเนินการค้นเพื่อไม่ให้กระทบต่อสิทธิ
            ส่วนบุคคลและป้องกันไม่ให้เจ้าพนักงานใช้อำานาจโดยไม่ชอบ เช่น การกำาหนด
            ให้มีหมายค้น  หรือกรณีที่ไม่มีหมายค้นจะต้องมีเหตุที่พอเชื่อได้ว่าบุคคลนั้น

        186
   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202