Page 198 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 198
จะกระทำาความผิดหรือได้กระทำาความผิด ในกรณีที่มีการตรวจค้นที่ไม่ชอบ
ด้วยกฎหมาย บุคคลย่อมมีสิทธิปฏิเสธที่จะถูกตรวจค้นโดยไม่ถือว่าเป็นการ
ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
ตามกฎหมายไทยอำานาจการค้นตามกฎหมายแบ่งได้สองประเภท คือ
การค้นตัวบุคคล และการค้นเคหสถาน หรือที่รโหฐาน
• การค้นตัวบุคคล ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำาหนดว่า
เจ้าพนักงานตำารวจจะค้นตัวได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้น
มีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำาความผิด
หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำาความผิด หรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด
หรือเพื่อยึดสิ่งของต่าง ๆ ที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานเอาผิดกับ
ผู้ต้องหาได้ ในกรณีที่ยังไม่ปรากฏความผิดจะทำาการค้นบุคคลใด
ในที่สาธารณสถานมิได้ เว้นแต่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำารวจ
เป็นผู้ค้นในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลนั้นมีสิ่งของในความ
ครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำาความผิด หรือซึ่งได้มาโดย
การกระทำาความผิด หรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด ส่วนการค้นตัว
บุคคลหลังจับกุมตัวแล้ว เจ้าพนักงานผู้จับหรือรับตัวผู้ถูกจับไว้
มีอำานาจค้นตัวผู้ต้องหาและยึดสิ่งของต่าง ๆ ที่อาจใช้เป็นพยาน
หลักฐานได้ การค้นนั้นจักต้องทำาโดยสุภาพ ถ้าค้นผู้หญิงต้องให้
หญิงอื่นเป็นผู้ค้น
• การค้นเคหสถาน หรือค้นที่รโหฐาน หมายถึง ที่ต่างๆ ซึ่งมิใช่ที่
สาธารณะที่บุคคลทั่วไป หรือประชาชนจะเข้าออกตามอำาเภอใจ
เช่น บ้านพักอาศัยกฎหมายกำาหนดห้ามมิให้ค้นที่รโหฐานโดยไม่มี
หมายค้น (Writ of Search) เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
- เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน หรือมีเสียง
หรือพฤติการณ์อื่นใดอันแสดงได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่นั้น
- เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำาลังกระทำาลงในที่รโหฐาน
- เมื่อบุคคลที่ได้กระทำาความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไป
หรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่
ในที่รโหฐานนั้น
187