Page 196 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 196
2. พยานหลักฐานอื่นในคดีเดิมนอกจากพยานบุคคลซึ่งศาลได้อาศัย
เป็นหลักในการพิจารณาพิพากษาในคดีที่ได้มีคำาพิพากษาถึงที่สุด
ปรากฏในภายหลังว่าเป็นพยานหลักฐานปลอม หรือเป็นเท็จหรือไม่
ถูกต้องตรงกับความจริง
3. มีหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำาคัญแก่คดี ซึ่งถ้าได้นำามาสืบในคดี
ถึงที่สุดจะแสดงว่าบุคคลที่ได้รับโทษทางอาญานั้นไม่ได้กระทำาผิด
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (ค.ศ. 1997)
ได้รับรองสิทธิในการรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ไว้ใน มาตรา 247 ว่า “บุคคลใด
ต้องรับโทษอาญาโดยคำาพิพากษาอันถึงที่สุด บุคคลนั้น ผู้มีส่วนได้เสีย หรือ
พนักงานอัยการ อาจร้องขอให้มีการรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้ และหาก
ปรากฏตามคำาพิพากษาของศาลที่รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ว่าบุคคลนั้น
มิได้เป็นผู้กระทำาความผิด บุคคลนั้นหรือทายาทย่อมมีสิทธิได้รับค่าทดแทน
และค่าใช้จ่ายตามสมควร ตลอดจนบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะผลแห่ง
คำาพิพากษานั้นคืน ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” แต่สิทธินี้
ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (พ.ศ.
2007)
คำาที่เกี่ยวข้อง DOUBLE JEOPARDY, NE BIS IN IDEM
RIGHT TO RELEASE สิทธิในการได้รับการปล่อยตัว
ON BAIL, THE ชั่วคราว / สิทธิในการประกันตัว
สิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการดำาเนินคดีอาญาของผู้ถูกคุมขัง
ในชั้นสอบสวน (ผู้ต้องหา) หรือในชั้นพิจารณาคดีในศาล (จำาเลย) ที่จะได้
รับการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด โดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลนั้น
จะต้องมาปรากฏตัวต่อพนักงานหรือศาลเมื่อมีหมายเรียก
สิทธินี้พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างสิทธิของบุคคลที่จะได้
รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ กับสิทธิที่จะไม่ถูกคุมขังโดยพลการ
และความจำาเป็นในการควบคุมตัวบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำาผิดไปปรากฏ
ตัวในศาลเนื่องจากหลักกฎหมายอาญามีว่าต้องพิจารณาคดีต่อหน้าจำาเลย
ซึ่งจำาเป็นต้องนำาตัวจำาเลยไปศาลในการพิจารณาคดี ดังที่กติการะหว่าง
185