Page 193 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 193
ต่อมาเมื่อมีพระราชบัญญัติวิธีดำาเนินการคุมความประพฤติ ประมวล
กฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) ขึ้น พร้อมกับมีการตั้งสำานักงาน
คุมประพฤติกลางขึ้นในกระทรวงยุติธรรม และต่อมาได้เปลี่ยนเป็นกรมคุม
ประพฤติ สังกัดกระทรวงยุติธรรมใน พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992)
PROSECUTOR / PUBLIC PROSECUTOR อัยการ
เจ้าพนักงานของรัฐที่ทำาหน้าที่ฟ้องจำาเลยในคดีอาญาต่อศาล และเป็น
ผู้รับผิดชอบในคดีที่ฟ้องในฐานะที่เป็นโจทก์ ในกระบวนการพิจารณา
ความตลอดทั้งกระบวนการ
เกือบทุกประเทศกำาหนดให้การฟ้องร้องดำาเนินคดีอาญาเป็น
หน้าที่ของรัฐโดยมีอัยการทำาหน้าที่เสมือนเป็นทนายของประชาชน
ส่วนในประเทศอังกฤษเดิมการฟ้องร้องดำาเนินคดีอาญาถือว่าเป็นการ
พิพาทระหว่างบุคคลที่เป็นคู่ความ การฟ้องคดีอาญาจะดำาเนินโดยบุคคล
ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำาความผิดอาญา ต่อมาใน ค.ศ. 1985
(พ.ศ. 2528) ได้ตั้งสำานักงานอัยการหลวง (Crown Prosecution Service) ขึ้น
ทำาหน้าที่ฟ้องคดีอาญา อย่างไรก็ตามบุคคลที่ได้รับความเสียหายยังคง
มีอำานาจฟ้องคดีได้เช่นกัน ดังนั้นคำาว่า “Prosecutor” ในระบบกฎหมายอังกฤษ
จึงหมายถึงอัยการ หรือทนายความของผู้เสียหายที่ฟ้องบุคคลเป็นจำาเลย
ในคดีอาญาต่อศาล และเรียกการฟ้องคดีอาญาโดยราษฎรว่า “Private
Prosecution”
สำาหรับประเทศไทย ระบบกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม
ทางอาญาได้รับอิทธิพลจากประเทศอังกฤษ ดังนั้นนอกจากอัยการแล้ว
ผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีอาญาได้ภายใต้ข้อกำาหนดของกฎหมาย (ดู Private
Prosecution)
PROSECUTOR- GENERAL อัยการสูงสุด
บุคคลที่ดำารงตำาแหน่งเจ้าพนักงานในฝ่ายบริหารมีหน้าที่ให้คำา
ปรึกษากฎหมายแก่รัฐ และรับผิดชอบงานเกี่ยวกับการดำาเนินคดีแทนรัฐ
(ดู SOLICITOR-GENERAL)
182