Page 201 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 201
ภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำาพอสมควรแก่เหตุ การกระทำานั้น
เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด”
ในกฎหมายระหว่างประเทศ หมายถึง สิทธิในการป้องกันตนเองของรัฐ
ซึ่งสิทธินี้เป็นไปตามหลักทั่วไปของกฎหมายระหว่างประเทศ ที่ยอมรับว่ารัฐ
อาจใช้มาตรการใด ๆ เพื่อป้องกันอธิปไตยของรัฐได้ภายใต้กฎหมายระหว่าง
ประเทศ แม้จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐอื่น การที่รัฐใช้มาตรการป้องกัน
ตนเอง ทำาให้รัฐไม่ต้องมีความรับผิดชอบระหว่างประเทศ
SELF-INCRIMINATION การให้การเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง
การกระทำาโดยการให้ถ้อยคำา หรือแสดงโดยประการอื่นของบุคคล
ที่แสดงว่าตนได้กระทำา มีส่วนในการกระทำา หรือเกี่ยวข้องกับการกระทำาความผิด
อาญาอันเป็นเหตุให้ต้องถูกฟ้องคดี หรือถูกพิพากษาว่ากระทำาผิด
หลักการทางกฎหมายสิทธิมนุษยชนรับรองสิทธิของบุคคลที่ถูก
ดำาเนินการในคดีอาญาที่จะไม่ถูกบังคับให้การรับสารภาพ หรือให้การใด
ที่เป็นการปรักปรำาหรือเป็นผลร้ายต่อตนเอง รวมถึงมีสิทธิที่จะไม่ให้การ
(ดู THE RIGHT TO SILENCE) หลักการนี้พัฒนามาจากแนวคิดเรื่อง
การสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำาพิพากษาอันถึงที่สุด
ว่าบุคคลนั้นกระทำาความผิด ดังนั้นผู้ถูกกล่าวหา หรือถูกฟ้องในคดีอาญา
จึงไม่มีหน้าที่พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง แต่เป็นหน้าที่ของผู้ที่กล่าวหา
หรือโจทก์ ที่จะต้องพิสูจน์ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำาผิดขึ้น
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ได้รับรองสิทธินี้ไว้ในข้อ 14 วรรค 3 ว่า “ในการพิจารณาคดีอาญา บุคคล
ทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทำาผิดย่อมมีสิทธิที่จะได้รับหลักประกันขั้นต่ำา
ดังต่อไปนี้โดยเสมอภาค....(ช) สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับให้เบิกความเป็นปรปักษ์
ต่อตนเอง หรือให้รับสารภาพผิด” รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 (ค.ศ. 2007) มาตรา 40(4) ได้รับรองสิทธินี้ไว้ทำานอง
เดียวกันว่า “ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จำาเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย
หรือพยานในคดี มีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำาเนินการตาม
กระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสิทธิในการได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้อง
190