Page 195 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 195
REHABILITATION การฟื้นฟู
การฟื้นฟูในทางกระบวนการยุติธรรมทางอาญา หมายถึง การบำาบัด
การให้การศึกษา หรือการดำาเนินการต่าง ๆ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม
ครอบครัว และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้โอกาสผู้กระทำาผิดได้กลับตัวกลับใจ
ไม่กระทำาผิดซ้ำาอีก และสามารถกลับมาอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
ทฤษฎีทางทัณฑวิทยาสมัยใหม่เชื่อว่า มนุษย์มีพื้นฐานจิตใจที่ดี ไม่ได้
เลวร้ายอย่างถาวร ผู้กระทำาผิดสามารถที่จะกลับมามีชีวิตเช่นคนปกติ และดำารง
ชีวิตเพื่อตนเองและส่วนรวมได้ ดังนั้นเป้าหมายหลักของการฟื้นฟูผู้กระทำาผิด
คือ การป้องกันการกระทำาผิดเป็นนิสัย โดยการบำาบัด ให้ความรู้ และปรับทัศนคติ
ของผู้กระทำาผิด ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำาหรับสังคมมากกว่าที่จะเป็นผลร้าย
REVIEW OF การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้น
A CRIMINAL JUDGEMENT พิจารณาใหม่
ขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการวิธีพิจารณาความอาญาที่มีขึ้นภายหลังจาก
ได้มีคำาพิพากษาถึงที่สุดให้บุคคลต้องรับโทษทางอาญาแล้ว และต่อมามี
พฤติกรรมหรือข้อเท็จจริงบางประการที่อาจมีนัยสำาคัญต่อการเปลี่ยนแปลง
คำาพิพากษา
กฎหมายอาญานั้นมีวัตถุประสงค์ที่จะลงโทษบุคคลที่กระทำาผิดจริง
แต่กระบวนการพิจารณาไต่สวนในศาลอาจมีความผิดพลาดขึ้นได้แม้ว่าศาล
จะได้ใช้เหตุผลในการฟังพยานหลักฐานอย่างรอบคอบแล้วก็ตาม กฎหมายจึงได้
กำาหนดให้มีการรื้อฟื้นคดีนั้นขึ้นพิจารณาใหม่ได้โดยกำาหนดเงื่อนไขไว้เพื่อไม่ให้
กระทบต่อประสิทธิภาพของระบบยุติธรรม
ตามกฎหมายไทย พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญา พ.ศ. 2526
(ค.ศ. 1983) ได้กำาหนดเงื่อนไขในการขอให้มีการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณา
ใหม่ได้ หากมีเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
1. พยานบุคคลในคดีเดิมซึ่งศาลได้อาศัยเป็นหลักในการพิจารณา
พิพากษาคดีถึงที่สุดปรากฏในภายหลังว่าเบิกความเท็จ หรือไม่ตรง
ตามความจริง
184