Page 156 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 156
MEDICAL TREATMENT, สิทธิ
THE RIGHT TO ในการรักษาพยาบาล
สิทธิขั้นพื้นฐานประการหนึ่งของมนุษย์ซึ่งสัมพันธ์กับสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ
เช่น สิทธิในชีวิต สิทธิในสุขภาพ เป็นต้น สิทธินี้มีทั้งด้านที่เป็นเสรีภาพ
และด้านที่เป็นอำานาจ ในด้านเสรีภาพ หมายถึง บุคคลสามารถที่จะแสวงหา
การบริการทางการแพทย์รวมถึงจิตแพทย์ตามความต้องการ ในด้านอำานาจ
เป็นสิทธิเรียกร้องให้รัฐต้องมีมาตรการด้านต่าง ๆ เพื่อให้บุคคลสามารถ
เข้าถึง (Accessible) การบริการทางการแพทย์และพยาบาลที่มีคุณภาพ
ที่ยอมรับได้ (Acceptable Quality) มีราคาที่เหมาะสมที่บุคคลทั่วไปสามารถ
จ่ายได้ (Affordable Price)
ภายใต้หลักกฎหมายสิทธิมนุษยชน รัฐมีพันธะหน้าที่สามด้านในการ
คุ้มครองสิทธิในการรักษาพยาบาล คือ
• หน้าที่ในการเคารพ (Duty to Respect) รัฐจะต้องมีกฎหมายรับรอง
เสรีภาพของบุคคลที่จะแสวงหาการบริการทางการแพทย์ ซึ่งรวมถึง
บุคคลที่อยู่ในกลุ่มที่มีความต้องการพิเศษ เช่น ผู้ถูกควบคุมตัวโดยรัฐ
เช่น ผู้ต้องหา หรือคนป่วยโรคจิต รัฐจะต้องไม่จำากัดเสรีภาพของบุคคล
ในการเลือกเข้ารับบริการทางการแพทย์ เช่น กำาหนดให้เข้ารับการรักษา
พยาบาลตามที่รัฐกำาหนดโดยไม่มีเงื่อนไข
• หน้าที่ในการปกป้องคุ้มครอง (Duty to Protect) รัฐจะต้องออก
กฎระเบียบและมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้บุคคลสามารถได้รับการ
บริการทางการแพทย์ที่เข้าถึงได้ในราคาที่เหมาะสมและมีคุณภาพ
เช่น การออกใบอนุญาตสถานพยาบาลโดยคำานึงถึงความครอบคลุม
ถึงพื้นที่ต่าง ๆ การมีประมวลแนวทางปฏิบัติที่ดีสำาหรับผู้ให้บริการ
ทางการแพทย์และพยาบาล มาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องมือ
แพทย์ ควบคุมคุณภาพของแพทย์ พยาบาล เช่น มีระบบใบอนุญาต
ประกอบวิชาชีพแพทย์ พยาบาล รวมถึงป้องกันการโฆษณา
ที่ไม่เป็นธรรมและการป้องกันไม่ให้ธุรกิจบริการทางการแพทย์
เอารัดเอาเปรียบผู้เข้ารับบริการ เป็นต้น
145