Page 161 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 161
ถ้าเจ้าพนักงานไม่ได้แจ้งสิทธิแก่ผู้ต้องสงสัยที่ถูกจับกุมตามหลักการ
มิแรนด้า ในการพิจารณาดำาเนินคดีนั้นจำาเลยสามารถยกขึ้นเป็นข้อ
ต่อสู้ได้ เพื่อขอศาลแจ้งคณะลูกขุนไม่ให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในการตัดสิน
ความผิด
คำาที่เกี่ยวข้อง THE RIGHT OF THE ACCUSED, THE RIGHT
TO SILENCE, SELF – INCRIMINATION
MISCARRIAGE ความผิดพลาดในการดำาเนิน
OF JUSTICE กระบวนการยุติธรรม
แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนยุติธรรมทางอาญาที่เห็นว่าความผิดพลาด
ในการดำาเนินกระบวนการยุติธรรมอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอน ถ้ามีความผิดพลาดขึ้น
ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีใหม่ และได้รับค่าชดเชยความเสียหาย
จากกระบวนการยุติธรรมที่ผิดพลาดนั้นไม่ว่าในชั้นพนักงานสอบสวน เช่น
การที่ผู้เสียหาย หรือพนักงานสอบสวนสร้างพยานเท็จเพื่อปรักปรำาผู้ต้องหา
หรือในชั้นศาลที่อาจวินิจฉัยผิดพลาด ทั้งนี้เพราะผู้พิพากษามิได้รู้เห็น
การกระทำาของจำาเลย แต่การวินิจฉัยของศาลเกิดจากการฟังพยานหลักฐาน
ที่คู่ความนำามาแสดงต่อศาล
เจตนารมย์ของกระบวนการยุติธรรม คือ การค้นหาความจริงเพื่อนำา
ตัวบุคคลที่ทำาผิดมาลงโทษ กระบวนการทั้งหมดเป็นการกระทำาโดยรัฐ
การที่บุคคลที่ตกเป็นผู้ต้องหา จำาเลย หรือนักโทษอาจต้องเสียหายจากการ
สูญเสียเสรีภาพ หรือชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพอนามัย ดังนั้นรัฐต้องมี
มาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลที่บริสุทธิ์ต้องได้รับความเสียหาย
จากกระบวนการที่ผิดพลาดของรัฐ และจะต้องแก้ไขความผิดพลาดโดยการ
รื้อฟื้นคดี หรือชดใช้ความเสียหายแล้วแต่กรณี
หลักกฎหมายอาญากำาหนดว่า บุคคลที่ถูกศาลพิพากษาว่ากระทำาความผิด
โดยกระบวนการที่ไม่ชอบ สามารถที่จะขอรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาคดีใหม่ได้
(ดู REVIEW OF A CRIMINAL JUDGEMENT) กรณีที่ความผิดพลาด
ในกระบวนการยุติธรรมเกิดขึ้นในชั้นพนักงานสอบสวน จำาเลยที่ถูกจับกุม
ควบคุมตัวสามารถได้รับค่าทดแทนความเสียหายได้
150