Page 158 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 158
กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญามีบทบัญญัติพิเศษที่ใช้กับผู้ป่วยทางจิต /
ผู้ป่วยจิตเวช เช่น ตามกฎหมายแพ่ง บุคคลวิกลจริตหรือสติฟั่นเฟือนจนถึงขั้น
จัดการงานไม่ได้ จะต้องอยู่ในความดูแลของบุคคลอื่นและไม่สามารถใช้สิทธิ
ที่พึงมีดังเช่นคนทั่วไปได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของบุคคลนั้น
และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลอื่น โดยกำาหนดให้บุคคลที่ดูแล
ผู้ป่วยทางจิตสามารถขอให้ศาลตั้งตนเองเป็นผู้จัดการเกี่ยวกับนิติกรรม
หรือให้ความยินยอมแก่ผู้ป่วยจิตเวชได้
ในเรื่องความรับผิดทางอาญาถ้าผู้กระทำาความผิดในขณะนั้นไม่สามารถ
รู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะจิตบกพร่อง โรคจิต หรือ
จิตฟั่นเฟือน กฎหมายจะยกเว้นโทษให้ แต่ถ้าศาลเห็นว่าการปล่อยตัวผู้เป็น
โรคจิตไป จะเป็นการไม่ปลอดภัยต่อประชาชน ศาลจะสั่งให้ส่งตัวไปควบคุมไว้
ในสถานพยาบาลก็ได้
ในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงาน ถ้าปรากฏว่าผู้กระทำาความผิดเป็นผู้ที่มี
ความผิดปกติทางจิต ไม่อยู่ในสภาพที่จะต่อสู้คดีได้ พนักงานสอบสวนจะต้อง
ส่งตัวให้แพทย์ตรวจและทำาการบำาบัดรักษาก่อนจนกว่าจะต่อสู้คดีได้
MILITARY COURT / COURT MARTIAL ศาลทหาร
องค์กรตุลาการที่มีอำานาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีที่ผู้กระทำา
ผิดกฎหมายทหาร หรือกฎหมายอาญาอื่นในคดี ซึ่งผู้กระทำาเป็นบุคคลที่อยู่
ในอำานาจของศาลทหารในขณะกระทำาความผิด ตลอดจนมีอำานาจสั่งลงโทษ
บุคคลที่กระทำาความผิดฐานละเมิดอำานาจศาลทหารด้วย ผู้พิพากษาศาลทหาร
เรียกว่า “ตุลาการพระธรรมนูญ”
ผู้มีสิทธิฟ้องคดีในศาลทหาร ได้แก่
1. อัยการทหาร
2. ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำานาจศาลทหาร
กระบวนการพิจารณาในศาลทหารเป็นไปตามพระราชบัญญัติธรรมนูญ
ศาลทหาร พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) โดยกำาหนดให้มีนายทหารหนึ่งคนเข้าร่วม
เป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีกับตุลาการพระธรรมนูญด้วยเสมอ และในการ
147