Page 154 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 154

ไม่ใช่ปัญหาหลักของการดำาเนินพันธกรณีที่ไม่สามารถบรรลุผลขั้นต่ำาได้
            เพราะมีรัฐที่ขาดแคลนทรัพยากรมากกว่าโดยเปรียบเทียบยังสามารถ
            ดำาเนินการให้บรรลุผลได้



              MAGNA CARTA (Latin) มักนา คาร์ตา / มหากฎบัตร

                  คำานี้เป็นภาษาละติน แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “Great Charter” บางทีก็ใช้
            “magna carta libertatum” หรือ “มหากฎบัตรแห่งเสรีภาพ (Great Charter
            of Liberties)”
                  เอกสารทางกฎหมายที่พระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษทรงทำาขึ้นใน ค.ศ. 1215
            (พ.ศ.  1758)  ที่เป็นผลจากการบังคับของบรรดาขุนนางและบาทหลวง
            เพื่อจำากัดการใช้พระราชอำานาจของพระองค์โดยการประกาศให้สิทธิเสรีภาพ
            ขั้นพื้นฐานบางประการแก่ราษฎร  เอกสารนี้ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเติมอีก
            หลายครั้ง และใช้เป็นกรอบในการปกครองประเทศอังกฤษ

                  เนื้อหาของมักนา คาร์ตา มีหกสิบสามข้อ (Clauses) แบ่งได้เป็นเก้ากลุ่ม
            เนื้อหาของกลุ่มที่สำาคัญ เช่น การรับรองเสรีภาพของศาสนจักร สิทธิของขุนนาง
            ในการถือครองที่ดินในระบบฟิวดัล  และความสัมพันธ์ของ  “ข้าติดที่ดิน”
            สิทธิเสรีภาพในการเดินทางของพ่อค้าและเสรีภาพในการทำาการค้า การรับรอง
            สิทธิเสรีภาพของบุคคลและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ถูกต้อง
            ตามหลักกฎหมาย เช่น การลงโทษบุคคลจะต้องทำาตามกฎหมาย และห้าม
            การเก็บภาษีตามอำาเภอใจ เป็นต้น

                  ปัจจุบันความสำาคัญของมักนา คาร์ตาทางกฎหมายในประเทศอังกฤษ
            ลดความสำาคัญลงเนื่องจากได้เปลี่ยนการปกครองมาเป็นระบบรัฐสภา แต่ยังคง
            เป็นสัญลักษณ์ของการประกันสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประกันโดยกษัตริย์ในยุค
            สมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ถือว่ากษัตริย์มีอำานาจเด็ดขาดในการบริหาร
            แผ่นดิน
                  ในทางประวัติศาสตร์และการเมือง มักนา คาร์ตาถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญ
            ฉบับแรกของโลก





                                                                        143
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159