Page 152 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 152
ปรัชญาการเมืองเห็นว่าหน้าที่ของรัฐบาล คือ การปกปักษ์รักษาชีวิต
ของพลเมือง อำานวยการให้เกิดความเป็นอิสรภาพของบุคคล และคุ้มครอง
ทรัพย์สินของบุคคล แนวคิดนี้นำามาสู่การเรียกร้องให้มีการจำากัดอำานาจรัฐ
ในการพรากชีวิตประชาชนพลเมืองในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเข่นฆ่าประชาชน
โดยพลการ หรือจากการใช้อำานาจตามกฎหมายที่กดขี่ ตลอดจนเรียกร้อง
ให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต
สิทธิในชีวิตมีทั้งด้านที่เป็น “อิสรภาพ (Freedom)” ที่รัฐต้องไม่กระทำาการ
อันเป็นการลิดรอนชีวิตของบุคคล เช่น รัฐไม่สังหารเข่นฆ่าบุคคลตามอำาเภอใจ
หรือการใช้กำาลังเกินความจำาเป็นของผู้บังคับใช้กฎหมายสังหารบุคคล
ที่สงสัยว่ากระทำาความผิด และด้านที่เป็น “อำานาจเรียกร้อง (Entitlement)”
ให้รัฐต้องกระทำาการโดยใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อปกป้องรักษาไม่ให้บุคคล
เสียชีวิต เช่น การป้องกันอาชญากรรมและอุบัติเหตุ รวมทั้งการจัดหา
หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำานวยต่อการ
ดำารงชีวิต การมีโครงการสาธารณะเพื่อป้องกันภัยพิบัติ ทุพภิกขภัย
และการป้องกันการขัดแย้งที่จะนำาไปสู่การสู้รบที่อาจเป็นเหตุให้ประชาชน
เสียชีวิต
รูปแบบหนึ่งที่สะท้อนพันธะหน้าที่ในการเคารพสิทธิในชีวิตของบุคคล
ก็คือ การบัญญัติรับรองสิทธินี้ไว้ในรัฐธรรมนูญกำาหนดให้การพรากชีวิต
บุคคลอื่นเป็นความผิดอาญา และกำาหนดการเยียวยาความเสียหาย
โดยกฎหมายแพ่งหรือกฎหมายมหาชน
สิทธิในชีวิตเป็นสิทธิที่ไม่อาจระงับชั่วคราวหรือเพิกถอนได้ แม้ในยามที่รัฐ
ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตราสารสิทธิมนุษยชนระดับระหว่างประเทศ
และระดับภูมิภาคทุกภูมิภาคได้ให้ความสำาคัญกับสิทธิในชีวิตไว้ในลำาดับต้น ๆ
เช่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
(ข้อ 6) อนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐาน (ข้อ 2)
อนุสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างรัฐอเมริกา (ข้อ 4) และอนุสัญญาแอฟริกา
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิประชาชน (ข้อ 4)
ปัญหาทางจริยศาสตร์เกี่ยวกับสิทธิในชีวิตทำาให้ขอบเขตของสิทธิ
ในชีวิตยังไม่ชัดเจนในบางประเด็น เช่น ปัญหาเกี่ยวกับโทษประหารชีวิต
141