Page 202 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 202

คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน




                         (๑๒)  เมื่อมีการแจ้งตามมาตรา ๕ หรือมีการร้องทุกข์
          ตามมาตรา ๖ แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำาด้วยความรุนแรงในครอบครัว

          พ.ศ. ๒๕๕๐ แล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดลงพิมพ์โฆษณา หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน
          ด้วยวิธีใดๆ ซึ่งภาพ เรื่องราว หรือข้อมูลใดๆ อันน่าจะทำาให้เกิดความเสียหาย
          แก่ผู้กระทำาความรุนแรงในครอบครัว หรือผู้ถูกกระทำาด้วยความรุนแรง
          ในครอบครัวในคดีตาม พ.ร.บ. นี้

                         (๑๓)  ในการดำาเนินการตามมาตรา ๘ ให้พนักงาน
          เจ้าหน้าที่ซึ่งมีฐานะเทียบได้ไม่ตำ่ากว่าพนักงานฝ่ายปกครองหรือ

          ตำารวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและได้รับ
          มอบหมายจากรัฐมนตรีมีอำานาจออกคำาสั่งกำาหนดมาตรการหรือวิธีการ
          เพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่บุคคลผู้ถูกกระทำาด้วยความรุนแรงในครอบครัว
          เป็นการชั่วคราว ไม่ว่าจะมีคำาร้องขอจากบุคคลดังกล่าวหรือไม่ โดยให้มี
          อำานาจออกคำาสั่งใดๆ ได้เท่าที่จำาเป็นและสมควร ซึ่งรวมถึงการให้ผู้กระทำา

          ความรุนแรงในครอบครัวเข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์ การให้ผู้กระทำา
          ความรุนแรงในครอบครัวชดใช้เงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เบื้องต้น
          ตามสมควรแก่ฐานะ การออกคำาสั่งห้ามผู้กระทำาความรุนแรงในครอบครัว

          เข้าไปในที่พำานักของครอบครัว หรือเข้าใกล้ตัวบุคคลใดในครอบครัว
          ตลอดจนการกำาหนดวิธีการดูแลบุตร
                         (๑๔)  เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ออกคำาสั่งกำาหนด

          มาตรการ หรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
          ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้เสนอมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์
          ต่อศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่วันออกคำาสั่งกำาหนดมาตรการ
          หรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ หากศาลเห็นชอบกับคำาสั่งกำาหนดมาตรการ

          หรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ดังกล่าว ให้คำาสั่งกำาหนดมาตรการหรือวิธีการ
          เพื่อบรรเทาทุกข์มีผลต่อไป




                                       178
   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207