Page 200 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 200

คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน




                           (๓)  เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้พบเห็นการกระทำา
          ด้วยความรุนแรงในครอบครัว หรือได้รับแจ้งตามมาตรา ๕ แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครอง

          ผู้ถูกกระทำาด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ แล้ว ให้พนักงาน
          เจ้าหน้าที่มีอำานาจเข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ที่เกิดเหตุเพื่อสอบถาม
          ผู้กระทำาความรุนแรงในครอบครัว ผู้ถูกกระทำาด้วยความรุนแรงในครอบครัว
          หรือบุคคลอื่นที่อยู่ในสถานที่นั้น เกี่ยวกับการกระทำาที่ได้รับแจ้ง

                           (๔)  รวมทั้งให้มีอำานาจจัดให้ผู้ถูกกระทำาด้วยความรุนแรง
          ในครอบครัวเข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์ และขอรับคำาปรึกษาแนะนำา

          จากจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์
                           (๕)  ในกรณีที่ผู้ถูกกระทำาด้วยความรุนแรงในครอบครัว
          ประสงค์จะดำาเนินคดี ให้จัดให้ผู้นั้นร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา

          ความอาญา แต่ถ้าผู้นั้นไม่อยู่ในวิสัยหรือมีโอกาสที่จะร้องทุกข์ได้ด้วยตนเอง
          ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ร้องทุกข์แทนได้

                           (๖)   ถ้ามิได้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๕
          หรือมิได้มีการร้องทุกข์ตามมาตรา ๖ แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำาด้วยความ
          รุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ ภายในสามเดือนนับแต่ผู้ถูกกระทำาด้วย
          ความรุนแรงในครอบครัวอยู่ในวิสัยและมีโอกาสที่จะแจ้ง หรือร้องทุกข์ได้
          ให้ถือว่าคดีเป็นอันขาดอายุความ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ถูกกระทำาด้วยความรุนแรง

          ในครอบครัว หรือผู้มีส่วนได้เสีย จะร้องขอคุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมาย
          ว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาเยาวชน
          และครอบครัว

                           (๗)  เมื่อมีการร้องทุกข์ภายในอายุความตามมาตรา ๗
          แล้วให้พนักงานสอบสวนทำาการสอบสวนโดยเร็วและส่งตัวผู้กระทำา
          ความรุนแรงในครอบครัว สำานวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นไปยัง






                                       176
   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205