Page 197 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 197

สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ




                                          (๒) พนักงานสอบสวนต้องนำาเด็ก
            หรือเยาวชนไปศาลเพื่อตรวจสอบการจับกุมภายในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง

            นับแต่ เวลาที่เด็กหรือเยาวชนไปถึงที่ทำาการของพนักงานสอบสวน แต่มิให้
            นับเวลาเดินทางตามปกติจากที่ทำาการของพนักงานสอบสวนมาศาล เว้นแต่
            พนักงานสอบสวนเห็นว่าคดีอาจเปรียบเทียบได้ ทั้งนี้หากการจับกุมเป็นไป
            โดยชอบศาลเป็นผู้ออกหมายควบคุมเด็กหรือเยาวชนหรือมอบตัวเด็กหรือ

            เยาวชนให้กับบิดามารดา ผู้ปกครอง รวมทั้งศาลเป็นผู้พิจารณาการปล่อย
            ชั่วคราวเด็กหรือเยาวชน

                                          (๓) กรณีเด็กหรือเยาวชนเข้ามอบตัว
            ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนไม่ต้องนำาเด็กหรือเยาวชนมาศาล
            เพื่อตรวจสอบการจับ แต่หากพนักงานสอบสวนต้องการควบคุมเด็ก
            หรือเยาวชน ก็สั่งให้เด็กหรือเยาวชนไปศาลเพื่อขอให้ศาลออกหมายควบคุมได้

                                          (๔) การถามปากคำาเด็กไว้ในฐานะเป็น
            ผู้เสียหาย พยาน หรือผู้ต้องหา หรือการจัดให้เด็กในฐานะเป็นผู้เสียหาย
            พยาน หรือผู้ต้องหาชี้ตัวบุคคล

                                              (๔.๑)  จัดให้มีสหวิชาชีพเข้าร่วม
            ได้แก่ นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงาน
            อัยการ

                                              (๔.๒)  แยกกระทำาเป็นสัดส่วน
            ในสถานที่เหมาะสมสำาหรับเด็ก โดยไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ปะปนกับผู้ต้องหาอื่น

            หรือมีบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องอยู่ในสถานที่นั้น โดยคำานึงถึงอายุ เพศ สภาวะ
            ของเด็กหรือเยาวชน
                                              (๔.๓)  ใช้ภาษาและถ้อยคำาที่ทำาให้

            เด็กหรือเยาวชนเข้าใจได้ง่ายโดยคำานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์





                                         173
   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202