Page 198 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 198
คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
(๔.๔) ถ้าเด็กหรือเยาวชนไม่
สามารถสื่อสารหรือไม่เข้าใจภาษาไทยให้จัดหาล่ามให้ตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญาหรือจัดหาเทคโนโลยีสิ่งอำานวยความสะดวกหรือ
ความช่วยเหลืออื่นใดให้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตคนพิการ
(๔.๕) ในกรณีเด็กเป็นผู้ต้องหา ก่อน
เริ่มการถามปากคำาพนักงานสอบสวนต้องถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือ
ไม่ ถ้าไม่มีให้จัดหาทนายความให้และแจ้งสิทธิให้ทราบดังต่อไปนี้
(๔.๕.๑) ผู้ต้องหามีสิทธิ
ที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การถ้อยคำาที่เด็กหรือเยาวชนให้การนั้น
อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้
(๔.๕.๒) ผู้ต้องหามีสิทธิ
ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำาตนได้
(๔.๖) การถามปากคำาเด็กคนใด
หรือคำาถามใดที่นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เห็นว่าอาจจะมีผลกระทบ
กระเทือนต่อจิตใจเด็กอย่างรุนแรงให้พนักงานสอบสวนถามผ่านนักจิตวิทยา
หรือนักสังคมสงเคราะห์โดยมิให้เด็กได้ยินคำาถามและห้าม มิให้ถามซำ้าซ้อน
หลายครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(๔.๗) ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มี
การบันทึกภาพและเสียงการถามปากคำาดังกล่าวซึ่งสามารถนำาออกถ่ายทอด
ได้อย่างต่อเนื่องไว้เป็นพยาน
(๔.๘) ในกรณีจำาเป็นเร่งด่วน
อย่างยิ่งซึ่งมีเหตุอันสมควรไม่อาจรอนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์
บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำาพร้อมกัน
ได้ ให้พนักงานสอบสวนถามปากคำาเด็กโดยมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งอยู่ร่วมด้วย
174