Page 199 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 199

สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ




            ก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุที่ไม่อาจรอบุคคลอื่นไว้ในสำานวนการสอบสวน

                                              (๔.๙)  การจัดให้ผู้เสียหายพยาน
            หรือผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีชี้ตัวบุคคล ให้พนักงานสอบสวน
            จัดให้มีการชี้ตัวบุคคลในสถานที่ที่เหมาะสมสำาหรับเด็กและสามารถป้องกัน
            มิให้บุคคลซึ่งจะถูกชี้ตัวนั้นเห็นตัวเด็ก โดยให้มีสหวิชาชีพเข้าร่วมด้วย





            ๓.๒๙ สิทธิมนุษยชนของสตรี



                     ๓.๒๙.๑   หลักการ

                     สตรีจะต้องไม่ถูกกระทำาการใดๆ ที่เกิดอันตรายแก่ร่างกายและ
            จิตใจ หรือสุขภาพ หรือไม่ถูกกระทำาการใดๆ ที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อ
            ร่างกายและจิตใจหรือสุขภาพของบุคคลดังกล่าว หรือถูกบังคับหรือถูกอำานาจ
            ครอบงำาที่ผิดคลองธรรมให้สตรีดังกล่าวต้องกระทำาการ ไม่กระทำาการหรือยอมรับ

            การกระทำาอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบ ทั้งนี้ไม่รวมถึงการกระทำาโดยประมาท
            (โปรดดู พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำาด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐)


                     ๓.๒๙.๒   แนวทางในการปฏิบัติ

                             (๑)  ผู้ถูกกระทำาความรุนแรงในครอบครัว หรือผู้ที่พบเห็น
            หรือทราบการกระทำาความรุนแรงในครอบครัว มีหน้าที่แจ้งต่อพนักงาน
            เจ้าหน้าที่ เพื่อดำาเนินการตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำาด้วยความรุนแรง

            ในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ (มาตรา ๕)
                             (๒)  การแจ้งต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๕
            วรรคหนึ่ง เมื่อได้กระทำาโดยสุจริต ย่อมได้รับความคุ้มครองและไม่ต้อง

            รับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา



                                         175
   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204