Page 204 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 204
คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
โดยอาจรับฟังความคิดเห็นของผู้เสียหายหรือบุคคลในครอบครัวประกอบ
ด้วยก็ได้
(๒๐) หากได้ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงและเงื่อนไข
ดังกล่าวครบถ้วนแล้วจึงให้มีการยอมความ การถอนคำาร้องทุกข์ หรือการ
ถอนฟ้องในความผิดตามมาตรา ๔ ได้ หากผู้ต้องหาหรือจำาเลยฝ่าฝืน
หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนหรือศาลมีอำานาจ
ยกคดีขึ้นดำาเนินการต่อไป
(๒๑) วิธีพิจารณา การยื่น และการรับฟังพยานหลักฐาน
หาก พ.ร.บ. นี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นำากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้ง
ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมาใช้
บังโดยอนุโลม
(๒๒) เพื่อประโยชน์ในการยอมความในคดีการกระทำา
ความรุนแรงในครอบครัว พนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาล แล้วแต่กรณี
อาจตั้งผู้ประนีประนอมประกอบด้วยบุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งเป็นบิดา
มารดา ผู้ปกครอง ญาติของคู่ความหรือบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือศาล
เห็นสมควรเพื่อให้คำาปรึกษา หรือช่วยเหลือในการไกล่เกลี่ยให้คู่ความ
ได้ยอมความกัน หรืออาจมอบหมายให้นักสังคมสงเคราะห์ หน่วยงาน
สังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลใดช่วยเหลือไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ยอมความ
กันก็ได้
(๒๓) เมื่อผู้ประนีประนอมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ตามวรรคหนึ่งได้ดำาเนินการไกล่เกลี่ยตามคำาสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่
หรือศาลแล้ว ให้รายงานผลการไกล่เกลี่ยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาล
แล้วแต่กรณีด้วย ในกรณีที่การไกล่เกลี่ยเป็นผลสำาเร็จ บุคคลดังกล่าว
จะจัดให้มีการทำาสัญญายอมความขึ้นหรือจะขอให้เรียกคู่ความมาทำา
สัญญายอมความกันต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือศาลก็ได้
180