Page 203 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 203
สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ
(๑๕) ในกรณีที่ศาลไม่เห็นชอบด้วยกับคำาสั่งกำาหนด
มาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือมี
ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ให้ศาลทำาการไต่สวน
และมีคำาสั่งโดยพลัน หากข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์เพียงพอแก่การ
วินิจฉัยออกคำาสั่ง ศาลอาจแก้ไขเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง หรือเพิกถอนคำาสั่ง
กำาหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์หรือออกคำาสั่งใดๆ รวมทั้ง
กำาหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมก็ได้
(๑๖) ผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับคำาสั่งของพนักงาน
เจ้าหน้าที่หรือศาลตามมาตรานี้ สามารถยื่นอุทธรณ์คำาสั่งเป็นหนังสือ
ขอให้ศาลทบทวนคำาสั่งได้ภายใน สามสิบวันนับแต่ทราบคำาสั่ง ให้คำาพิพากษา
หรือคำาสั่งของศาลเป็นที่สุด
(๑๗) ในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี
ให้ศาลมีอำานาจออกคำาสั่งกำาหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์
ตามมาตรา ๑๐ แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำาด้วยความรุนแรง
ในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ หรือออกคำาสั่งใดๆ ได้ตามที่เห็นสมควร
(๑๘) ในกรณีที่เหตุการณ์หรือพฤติการณ์เกี่ยวกับ
ผู้กระทำาความรุนแรงในครอบครัว หรือผู้ถูกกระทำาด้วยความรุนแรง
ในครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำานาจแก้ไขเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง
หรือเพิกถอนคำาสั่งกำาหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ หรือคำาสั่ง
ใดๆ รวมทั้งกำาหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมก็ได้
(๑๙) ในกรณีที่มีการยอมความ การถอนคำาร้องทุกข์
หรือการถอนฟ้องในความผิดตามมาตรา ๔ ให้พนักงานสอบสวนหรือศาล
แล้วแต่กรณี จัดให้มีการทำาบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นก่อนการยอมความ
การถอนคำาร้องทุกข์ หรือการถอนฟ้องนั้น และกำาหนดให้นำาวิธีการตาม
วรรคหนึ่งเป็นเงื่อนไขในการปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยอนุโลม
179