Page 196 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 196
คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
(๖) การควบคุมเด็กหรือเยาวชนผู้ถูกจับ
ควบคุมได้เท่าที่จำาเป็น เพื่อป้องกันการหลบหนี หรือเพื่อความปลอดภัย
ของเด็กหรือเยาวชนผู้ถูกจับหรือบุคคลอื่น
(๗) ห้ามมิให้ใช้เครื่องพันธนาการ
สำาหรับเด็กไม่ว่ากรณีใดๆ เว้นแต่มีความจำาเป็นอย่างยิ่งอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้
เพื่อป้องกันการหลบหนีหรือเพื่อความปลอดภัยของเด็กผู้ถูกจับหรือบุคคลอื่น
(๘) นำาตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งถูกจับ
ไปยังที่ทำาการของพนักงานสอบสวนทันที
(๙) เจ้าหน้าที่ตำารวจผู้จับต้องทำาบันทึก
การจับกุมแจ้งข้อหาและรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุแห่งการจับให้ผู้ถูกจับทราบ
(๑๐) ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ตำารวจผู้จับ
ถามคำาให้การเด็กหรือเยาวชนผู้ถูกจับ ถ้าขณะนั้นบิดามารดา ผู้ปกครอง
หรือผู้แทนองค์กรที่เด็กหรือเยาวชนอยู่ด้วย ให้ถามต่อหน้าบุคคลดังกล่าว
๓.๒๘.๒.๒ การสอบสวน
(๑) เมื่อเด็กหรือเยาวชนซึ่งถูกจับ
และส่งตัวมาที่พนักงานสอบสวนให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติดังนี้
(๑.๑) สอบถามเบื้องต้น แจ้งข้อ
กล่าวหา และสิทธิตามกฎหมายให้เด็กหรือเยาวชนทราบ รวมทั้งแจ้งให้บิดา
มารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือองค์การที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยทราบ
(๑.๒) แจ้งผู้อำานวยการสถานพินิจ
เพื่อดำาเนินการตามมาตรา ๘๒ คือ เพื่อให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะ
ข้อเท็จจริง ทำารายงานแสดงความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงาน
อัยการเกี่ยวกับสาเหตุแห่งการกระทำาความผิด
172