Page 123 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 123
๑๐๘
ในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล (การชั่งน้่าหนักระหว่างประโยชน์สาธารณะกับประโยชน์ของบุคคล
ผู้ได้รับผลกระทบ)
๒. การตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเกี่ยวกับการกระท าอันเป็นการแทรกแซง
หรือรุกล้ าสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล
โดยที่สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเป็นสิทธิเสรีภาพตามธรรมชาติของมนุษย์
และเป็นสิทธิที่เกี่ยวด้วยศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวจึงตกอยู่ในขอบเขต
แห่งนิยามของค่าว่า “สิทธิมนุษยชน” ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนั้น ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คณะกรรมการอาจจ่าเป็นต้องตรวจสอบว่าการกระท่าอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นการแทรกแซงหรือรุกล้่าสิทธิ
ในความเป็นอยู่ส่วนตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือไม่ ด้วย
ดังนั้น เพื่อให้การตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเกี่ยวกับ
การกระท่าอันเป็นการแทรกแซงหรือรุกล้่าสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และสอดคล้องกับหลักสากลในเรื่องนี้ คณะผู้วิจัยจึงมีความเห็นและข้อเสนอแนะ ดังนี้
๒.๑ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเชิงเนื้อหา
เกี่ยวกับสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวตามหลักสากล ตลอดจนขอบเขตหรือประเภทต่างๆ ของสิทธิ
ในความเป็นอยู่ส่วนตัว และคุณค่าหรือสถานะทางกฎหมายของสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เพื่อประโยชน์
ในการพิจารณาและการตรวจสอบการกระท่าอันเป็นการแทรกแซงหรือรุกล้่าสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
๒.๒ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
และคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิความเป็นส่วนตัวมีมาตรฐานและเป็นไปในแนวทาง
เดียวกัน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงควรก่าหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิจารณา
และการตรวจสอบการกระท่าอันเป็นการแทรกแซงหรือรุกล้่าสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเป็นการเฉพาะ
โดยก่าหนดหลัเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
- นิยามหรือลักษณะของ “สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว” เพื่อให้เกิดความชัดเจน
ต่อการใช้สิทธิของประชาชน ตลอดจนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
- ขอบเขตของสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว ตามลักษณะหรือเนื้อหาแห่งสิทธิให้ชัดเจน
- หลักเกณฑ์หรือแนวทางการพิจารณาตรวจสอบเกี่ยวกับการกระท่าอันเป็นการ
แทรกแซงหรือรุกล้่าสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล อันเป็นการกระท่าที่เป็นการละเมิดสิทธิ
มนุษยชน
ในการพิจารณาตรวจสอบเกี่ยวกับการกระท่าอันเป็นการแทรกแซงหรือรุกล้่าสิทธิ
ในความเป็นส่วนตัวของบุคคล มีข้อสังเกตเพิ่มเติม ดังนี้