Page 120 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 120
๑๐๕
อนึ่ง การน่าผู้ต้องหาไปท่าแผนประกอบค่ารับสารภาพเป็นเพียงขั้นตอนการ
รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดีของพนักงานสอบสวนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓๑
แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่บัญญัติว่า “ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐาน
ทุกชนิดเท่าที่สามารถจะท่าได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิด
ที่ถูกกล่าวหา เพื่อจะรู้ตัวผู้กระท่าผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา”
แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้ก่าหนดให้อ่านาจแก่เจ้าพนักงานในการด่าเนินการ
ท่าแผนประกอบค่ารับสารภาพ และเมื่อตรวจสอบบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว
ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายฉบับใดที่ได้ก่าหนดให้อ่านาจพนักงานสอบสวนหรือต่ารวจในการท่าแผนประกอบ
ค่ารับสารภาพเอาไว้แต่อย่างใด จึงอาจกล่าวได้ว่าการท่าแผนประกอบค่ารับสารภาพของเจ้าหน้าที่
ต่ารวจเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ต่ารวจในการรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดี
เพื่อท่าให้คดีนั้นมีพยานหลักฐานที่มีน้่าหนักน่าเชื่อถือเท่านั้น
(๔) สรุป
การที่เจ้าหน้าที่ต่ารวจน่าตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปท่าแผนประกอบ
ค่ารับสารภาพ หรือเจ้าหน้าที่ต่ารวจเผยแพร่ภาพถ่ายของผู้ต้องหาในคดีอาญาไปตามสื่อต่างๆ
เป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ต้องหา อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องหา