Page 118 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 118
๑๐๓
๑๐๐
๙๙
ร่างกาย โดยนัยดังกล่าว ผู้ต้องหา ย่อมต้องได้รับความคุ้มครองตามข้อ ๑๑ และข้อ ๑๒
แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และข้อ ๘ วรรคหนึ่ง ของอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
โดยนัยดังกล่าว การแสดงตัวของผู้ต้องหาให้ปรากฏต่อสาธารณชน
หรือการน่าภาพของตนเองไปเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ ย่อมเป็นสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวซึ่งได้รับ
๑๐๑
ความคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตรา ๔ และมาตรา ๓๕ และมาตรา ๓๙ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ในอันที่บุคคลใดจะล่วงละเมิดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
มิได้ โดยนัยดังกล่าว สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมตกอยู่ในความหมายของค่าว่า “สิทธิมนุษยชน”
ตามนัยที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
ประเด็นที่สอง การที่เจ้าหน้าที่ต่ารวจน่าตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา
ไปท่าแผนประกอบค่ารับสารภาพ หรือเจ้าหน้าที่ต่ารวจเผยแพร่ภาพถ่ายของผู้ต้องหาในคดีอาญาไปตาม
สื่อต่างๆ เป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ต้องหา อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ของผู้ต้องขังหรือบุคคลนั้นหรือไม่
เมื่อการแสดงตัวของบุคคลให้ปรากฏต่อสาธารณชน หรือการน่าภาพ
ของตนเองไปเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ เป็นสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับสิทธิในเนื้อตัวร่างกายซึ่ง
ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย จึงก่อให้เกิดหน้าที่หรือความผูกพันต่อบุคคลอื่นที่จะต้องเคารพต่อสิทธิ
ดังกล่าวโดยไม่กระท่าการแทรกแซงสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานนั้นโดยมิได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งของ
ผู้ต้องหาแต่อย่างใด โดยนัยดังกล่าว การที่เจ้าหน้าที่ต่ารวจน่าตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปท่าแผนประกอบ
ค่ารับสารภาพ หรือเจ้าหน้าที่ต่ารวจเผยแพร่ภาพถ่ายของผู้ต้องหาในคดีอาญาไปตามสื่อต่างๆ
เป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ต้องหา อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องหา
อนึ่ง นอกจากผู้ต้องหามีสิทธิที่จะไม่ถูกบันทึกภาพโดยที่ตนมิได้ยินยอม
ด้วยแล้ว จ่าเลยในคดีอาญาก็มีกฎหมายคุ้มครองที่จะไม่ถูกบันทึกภาพในระหว่างการด่าเนินกระบวน
พิจารณาคดีของศาลหรือในระหว่างถูกจองจ่าในเรือนจ่า โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๙๙ มาตรา ๒ ) ๒( ป. วิ. อาญา บัญญัติว่า ““ผู้ต้องหา” หมายความถึงบุคลที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระท่าความผิด
แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล”
๑๐๐
ข้อ ๑๑ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ก่าหนดว่า “(๑) บุคคลซึ่งถูกกล่าวหาด้วยความผิดทางอาญา
มีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะมีการพิสูจน์ว่ามีความผิดตามกฎหมายในการพิจารณาโดย
เปิดเผย ณ ที่ซึ่งตนได้รับหลักประกันทั้งหมดที่จ าเป็นในการต่อสู้คดี”
๑๐๑
มาตรา ๓๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ บัญญัติว่า “ในคดีอาญา ต้อง
สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจ าเลยไม่มีความผิด ก่อนมีค าพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระท าความผิด
จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระท าความผิดมิได้”