Page 124 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 124

๑๐๙


                                    - คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรยึดถือกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ

                   ที่เป็นหลักสากลเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาตรวจสอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
                   และอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน เป็นส่าคัญ

                   ทั้งนี้ คณะกรรมการอาจศึกษาแนวทางการพิจารณาตรวจสอบหรือการให้เหตุผลของศาลแห่งยุโรป

                   ด้านสิทธิมนุษยชนประกอบด้วยก็ได้
                                    - การกระท่าอันเป็นการแทรกแซงหรือรุกล้่าสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล

                   อาจเกิดขึ้นควบคู่หรือพร้อมๆ กับการกระท่าความผิดตามกฎหมายเฉพาะฉบับใดฉบับหนึ่ง ดังเช่น
                   กรณีการที่องค์กรของรัฐปฏิเสธมิให้บุคคลหนึ่งตรวจดูข้อมูลประวัติวัยเยาว์ของตนในช่วงที่ตนอาศัย

                   อยู่ในสถานเลี้ยงเด็ก และข้อมูลเหล่านั้นถูกเก็บรักษาไว้ที่องค์กรของรัฐ ซึ่งศาลแห่งยุโรป
                   ด้านสิทธิมนุษยชนได้เคยวินิจฉัยไว้ในคดี Gaskin  c/Royaume-Uni  ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น

                   ในกรณีเช่นนี้ ในการกระท่าความผิดหนึ่งจึงอาจเกิดมี “มิติทับซ้อน” ขึ้นระหว่างการกระท่าความผิด

                   ตามกฎหมายเฉพาะนั้นกับการกระท่าอันเป็นการแทรกแซงหรือรุกล้่าสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
                   ในกรณีเช่นนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติย่อมมีอ่านาจหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบแต่เพียง

                   ในส่วนที่เกี่ยวกับมิติการกระท่าอันเป็นการแทรกแซงหรือรุกล้่าสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวว่าการกระท่า

                   นั้นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่เท่านั้น โดยมิอาจก้าวล่วงพิจารณาลงไปถึงการกระท่าอันเป็น
                   ความผิดตามกฎหมายเฉพาะนั้นๆ ซึ่งเป็นอ่านาจหน้าที่หรือความรับผิดชอบโดยตรงเป็นการเฉพาะ

                   ขององค์กรของรัฐแห่งอื่นอยู่แล้ว
   119   120   121   122   123   124   125   126