Page 121 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 121
บทที่ ๕
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
คณะผู้วิจัยขอสรุปเกี่ยวกับสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวและการรับรองและคุ้มครองสิทธิ
ดังกล่าว และให้ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในการตรวจสอบการกระท่าการแทรกแซงหรือรุกล้่าสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล อันเป็นการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนี้
๑. สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว และการรับรองและคุ้มครองสิทธิ
สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว (Right to privacy) ถือเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานตาม
ธรรมชาติของมนุษย์และเกี่ยวด้วยศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ซึ่งมีที่มาจากความเชื่อว่าเป็นสิทธิ
ที่เป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ผู้ใช้อ่านาจปกครองไม่มีอ่านาจที่จะลบล้างและมิอาจจะก้าวล่วงได้
ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสี่ประการส่าคัญ ได้แก่ สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
ชีวิตครอบครัว เคหสถานหรือที่พักอาศัย และจดหมายหรือการติดต่อสื่อสาร
ดังนั้น โดยหลักแล้ว สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลจึงต้องได้รับการเคารพ
จากบุคคลทั้งหลาย รวมถึงองค์กรของรัฐด้วย แต่อย่างไรก็ตาม องค์กรของรัฐอาจมีความจ่าเป็นที่จะต้อง
ด่าเนินมาตรการบางประการที่เป็นการแทรกแซงหรือรุกล้่าการใช้สิทธิดังกล่าว อันน่ามาซึ่งการตรวจสอบ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าการกระท่าอย่างหนึ่งอย่างใดขององค์กรของรัฐเป็นการ
แทรกแซงหรือรุกล้่าสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือในทางตรงกันข้าม
การกระท่านั้นเป็นการกระท่าตามอ่าเภอใจหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
๑.๑ สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว กับการเคารพสิทธินั้นโดยบุคคลอื่น
สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวได้รับการรับรองและคุ้มครองไว้ในกฎเกณฑ์และ
ข้อตกลงระหว่างประเทศหลายฉบับในฐานะเป็นสิทธิมนุษยชนประการหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิญญา
สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ
ขั้นพื้นฐาน อันมีค่าบังคับเหนือกว่ากฎหมายภายในของประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การรับรองสิทธิใน
ความเป็นอยู่ส่วนตัวเป็นการรับรองถึงการด่ารงอยู่ของสิทธิดังกล่าวในลักษณะที่เป็นสิทธิเสรีภาพขั้น
พื้นฐานอันเกี่ยวด้วยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในขณะที่การคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
เป็นการคุ้มครองทั้งในด้านความลับของ ความเป็นอยู่ส่วนตัวและในด้านเสรีภาพของความเป็นอยู่ส่วนตัว
ด้วย โดยนัยดังกล่าว บุคคลทุกคนจึงย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเคารพสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของตน
และสามารถใช้สิทธินั้นได้ตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและไม่กระทบสิทธิของบุคคลอื่น ในขณะเดียวกัน
๑๐๖