Page 122 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 122

๑๐๗


                   สิทธิในความเป็นส่วนตัวก็ได้ก่อให้เกิดหน้าที่หรือความผูกพันต่อบุคคลทั้งหลายในอันที่จะต้องไม่กระท่า

                   การอย่างใดๆ ที่จะเป็นการแทรกแซงหรือรุกล้่าสิทธิดังกล่าว ทั้งจากองค์กรของรัฐ (ในความสัมพันธ์
                   ระหว่างภาครัฐกับเอกชน) และจากเอกชนหรือปัจเจกบุคคล (ในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชน

                   หรือปัจเจกบุคคลด้วยกันเอง)

                                     ส่าหรับประเทศไทย สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวได้รับการรับรองและคุ้มครอง
                   ไว้โดยชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว

                   จึงมีคุณค่าในระดับรัฐธรรมนูญเลยทีเดียว ดังนั้น โดยหลักแล้ว องค์กรของรัฐย่อมมิอาจด่าเนินมาตรการ
                   หรือกระท่าการอย่างใดๆ อันเป็นการแทรกแซงหรือรุกล้่าการใช้สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล

                   มิได้ อันจะเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

                                 ๑.๒ สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว กับข้อยกเว้นของการกระท าอันเป็นการแทรกแซง
                   หรือรุกล้ าสิทธิดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย

                                       แม้ว่าโดยหลักแล้ว องค์กรของรัฐจะมิอาจกระท่าการหรือด่าเนินมาตรการใดๆ

                   อันเป็นการแทรกแซงหรือรุกล้่าการใช้สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น
                   แต่ในบางสถานการณ์ องค์กรของรัฐอาจมีความจ่าเป็นต้องด่าเนินมาตรการทางกฎหมายหรือทาง

                   ปกครองอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อประโยชน์สาธารณะ อันอาจมีผลเป็นการแทรกแซงหรือรุกล้่าสิทธิ

                   ในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลได้
                                       อย่างไรก็ตาม การที่องค์กรของรัฐจะด่าเนินมาตรการหรือกระท่าการอย่างหนึ่ง

                   อย่างใดอันเป็นการแทรกแซงหรือรุกล้่าสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลได้ จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข

                   บางประการอันเป็นหลักประกันสิทธิของบุคคลที่อาจได้รับผลกระทบจากการด่าเนินมาตรการหรือการ
                   กระท่าการขององค์กรของรัฐ เพื่อป้องกันมิให้การด่าเนินมาตรการหรือการกระท่าการอย่างใดๆ ขององค์กร

                   ของรัฐเป็นไปตามอ่าเภอใจหรือไม่สมเหตุสมผล ทั้งนี้ ตามแนวทางที่ก่าหนดไว้ในข้อ ๘ วรรคสอง
                   ของอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน กล่าวคือ

                                       ๑.๒.๑ การด่าเนินมาตรการนั้นมีกฎหมายหรือกฎเกณฑ์บัญญัติให้กระท่าได้
                   โดยยึดหลักการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายหรือกฎระเบียบนั้นๆ ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง และหลักการ

                   คาดหมายล่วงหน้าได้ของบุคคลนั้นๆ เกี่ยวกับผลของการใช้บังคับกฎหมายหรือกฎระเบียบนั้นที่เกี่ยวข้อง

                   กับตน อันเป็นหลักประกันสิทธิของบุคคล
                                       ๑.๒.๒ การด่าเนินมาตรการนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์อันเกี่ยวกับ

                   ประโยชน์สาธารณะเป็นส่าคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ ความสงบเรียบร้อยและ

                   ความปลอดภัยของประชาชน หรือการป้องกันการกระท่าความผิดอาญา
                                       ๑.๒.๓ การด่าเนินมาตรการนั้นจะต้องเป็นสิ่งจ่าเป็นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์

                   อันเป็นประโยชน์สาธารณะ และได้สัดส่วนกับวัตถุประสงค์ดังกล่าว โดยยึด “หลักความได้สัดส่วน”

                   ระหว่างการด่าเนินมาตรการนั้นกับผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อการแทรกแซงหรือการรุกล้่าสิทธิ
   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126