Page 119 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 119
๑๐๔
- ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยการให้ข่าว
และบริการข่าวสารของศาลยุติธรรม พ.ศ .๒๕๔๕
การถ่ายภาพ ภาพยนตร์ บันทึกภาพหรือเสียง หรือการกระท่าอย่างอื่น
ในท่านองเดียวกันในบริเวณศาลหรือในห้องพิจารณาที่ไม่มีการพิจารณาคดีให้กระท่าได้เมื่อได้รับอนุญาต
จากผู้พิพากษา ผู้รับผิดชอบในราชการของศาล นอกจากนั้น การถ่ายภาพ ภาพยนตร์ บันทึกภาพ
หรือเสียงผู้ต้องหาหรือจ่าเลยในขณะที่อยู่ในสถานที่ควบคุมในศาลหรือในขณะที่เจ้าหน้าที่ก่าลังควบคุม
ผู้ต้องหาหรือจ่าเลยจากสถานที่ควบคุมภายในศาลหรือห้องพิจารณาคดีไปยังสถานที่ต่างๆ ในบริเวณศาล
ไม่สามารถกระท่าได้
- ข้อบังคับกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการสัมภาษณ์ผู้ต้องขัง และการ
ถ่ายภาพ ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ภายในเรือนจ า พ.ศ .๒๕๔๐
ห้ามไม่ให้บุคคลใด ถ่ายภาพ ภาพยนตร์ วิดิทัศน์รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้ต้องขัง
ทั้งภายในและภายนอกเรือนจ่า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมราชทัณฑ์ การถ่ายภาพผู้ต้องขัง
ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ ห้ามไม่ให้บันทึกภาพใบหน้าหรือภาพที่สามารถเห็นใบหน้าได้อย่างชัดเจน หรือภาพ
ที่สามารถให้เห็นและจ่าได้ว่า ผู้ต้องขังนั้นเป็นผู้ใด เว้นแต่จะได้ด่าเนินการปิดบังใบหน้าผู้ต้องขังนั้นตาม
วิธีการใดๆ เสียก่อน เพื่อมิให้ปรากฏภาพใบหน้า ผู้ต้องขังอย่างชัดเจนได้ นอกจากนั้นการสัมภาษณ์
ผู้ต้องขังต้องเป็นไปตามความสมัครใจของผู้ต้องขัง
ประเด็นที่สาม การด่าเนินการดังกล่าวเป็นการด่าเนินการตามอ่านาจหน้าที่
ตามกฎหมายโดยองค์กรของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ เป็นสิ่งจ่าเป็นเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว
และได้สัดส่วนกับวัตถุประสงค์นั้นหรือไม่
การที่เจ้าหน้าที่ต่ารวจน่าตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปท่าแผนประกอบ
ค่ารับสารภาพ หรือเจ้าหน้าที่ต่ารวจเผยแพร่ภาพถ่ายของผู้ต้องหาในคดีอาญาไปตามสื่อต่างๆ เป็นการ
แทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ต้องหา อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องหา
การด่าเนินการเช่นนั้นย่อมเป็นการชี้น่าสังคมส่วนหนึ่งให้เกิดความเข้าใจว่าผู้ต้องหานั้นเป็นผู้กระท่า
ความผิดแล้ว และภายหลังจากที่ได้น่าตัวผู้ต้องหาออกสื่อสาธารณะไปแล้ว เจ้าหน้าที่ต่ารวจก็มิได้ติดตาม
ท่าข่าวอีกว่าศาลได้ตัดสินให้ผู้ต้องหานั้นว่ากระท่าความผิดตามข้อกล่าวหาหรือไม่ อันกระทบ
หรือแทรกแซงสิทธิในความเป็นส่วนตัวของผู้ต้องหาแล้ว และกรณีดังกล่าวจึงเป็นการกระท่า
อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เว้นแต่จะมีกฎหมายให้อ่านาจหน้าที่แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐให้ด่าเนินการ
เช่นนั้นได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ การด่าเนินการนั้นเป็นสิ่งจ่าเป็นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว
และการด่าเนินการนั้นได้สัดส่วนกับวัตถุประสงค์นั้น