Page 205 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 205
188 ภาษาเพศในสังคมไทย: อํานาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ
ถึงที่สุดแลวคําวา “ชายรักชาย” ซึ่งถูกสรางขึ้นมาโดยกลุมนักกิจกรรม
ดานสิทธิทางเพศเพื่อนําเสนอแงมุมในดานบวกของความเปนผูชายในแงของ
อารมณ ความรัก ความรูสึก และความปรารถนาตอผูชายดวยกัน แตภายใต
ความหมายของคําๆ นี้เอง ก็กลับละเลยแงมุมที่สําคัญของการเปนชาย
รักเพศเดียวกัน นั่นคือ “วิถีชีวิตและพฤติกรรมทางเพศ” รวมทั้งละเลย
“ตัวตนทางเพศวิถี” ที่หลากหลาย ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยน ลื่นไหลไปมาได
ตลอดเวลาตามบริบทของคูเพศสัมพันธ เวลา หรือปจจัยแวดลอมอื่นๆ ดวย
ในการใชคําวา “ชายรักชาย” แตละครั้งจึงจําเปนอยางยิ่งที่ตอง
พิจารณาวาผูที่ใชคําๆ นี้คือใคร และใชเพื่อวัตถุประสงคอยางไร เพราะแตละ
กลุมที่นําคําๆ นี้มาใช ก็อาจจะตีความคําๆ นี้แตกตางกันไป กลุมนักกิจกรรมเอง
อาจใชคํานี้เพื่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองเรื่องการเรียกรองสิทธิความเทาเทียม
ของบุคคลรักเพศเดียวกัน โดยมุงเนนไปที่ “เกย” หรือผูที่มีเพศภาวะเปนชาย
ที่มีความรักความปรารถนาในเพศเดียวกัน มากกวาจะเนนไปที่ “กะเทย” หรือ
“สาวประเภทสอง” ที่มีเพศภาวะอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเผชิญกับปญหาที่แตกตางออก
ไป ขณะที่กลุมผูใหบริการดานสุขภาพกลับมอง “ชายรักชาย” ในความหมายที่
รวมทั้ง “เกย” “กะเทย” และ “ไบเซ็กชวล” ไวดวยกัน ในฐานะกลุมคนที่มี
พฤติกรรมเสี่ยง เพราะเปนชายที่มีเพศสัมพันธกับชายดวยกัน
แตไมวาจะมองอยางไรสิ่งที่ปฏิเสธไมไดก็คือ สังคมไทยยังคงมีอคติตอ
ความเปน “ชายรักชาย” ตลอดมา ซึ่งการที่จะแกไขอคติ และความเขาใจผิด
ตรงนี้ได สิ่งที่สําคัญที่สุดคือ การปรับเปลี่ยนมุมมองความคิดในเรื่องเพศ
เสียใหม และยอมรับในความเปนตัวตนที่แตกตางหลากหลาย ซับซอน และ
ลื่นไหลทางเพศภาวะ และเพศวิถีตามที่ “ชายรักชาย” แตละคนนิยามตนเอง
สุไลพร ชลวิไล