Page 203 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 203
186 ภาษาเพศในสังคมไทย: อํานาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ
ความเปนชายรักเพศเดียวกัน และความเปนชายรักตางเพศดวยในเวลาเดียวกัน
อยางไรก็ตามดวยการใชชีวิตทั้งทางเพศ และทางสังคมของเกยที่ไมไดมีสถาบัน
ทางสังคมใดตระหนักถึงความมีตัวตน หรือรับรองความสัมพันธระหวาง
เพศเดียวกันเชนนี้ ทําใหเกยมักถูกมองวาเปนผูที่มีพฤติกรรมทางเพศแบบ
เปลี่ยนคูเพศสัมพันธไปไดเรื่อยๆ และเปนตนเหตุของการแพรกระจายเชื้อเอชไอวี
ซึ่งไมวาสังคมไทยในปจจุบันจะไดเรียนรูถึงความหมายของคําวา “เกย” หรือ
“ชายรักชาย” มากขึ้นแคไหนหรือมีพื้นที่ (ทั้งในทางกายภาพ เชน คลับ บาร ซาวนา
สําหรับเกย และทางอินเทอรเน็ต เชน เว็บไซตตางๆ) และมีสื่อสําหรับเกยมากขึ้น
รวมทั้งมีเกยที่ออกมาเปดเผยตนเองมากขึ้นเพียงใดก็ตาม หากภาพของความ
เปน “ชายรักชาย” หรือ “เกย” ในสังคมไทยก็ยังคงถูกมองในแงลบอยูดี ตัวอยาง
ที่เห็นไดชัด เชน ถานักแสดงชายคนใดตกเปนขาววา “เปนเกย” ซึ่งไมวาขาวนั้น
จะเปนจริงหรือไมก็ตามสวนใหญก็มักจะออกมาปฏิเสธขาวไวกอน เพราะขาว
ในลักษณะนี้จัดวาเปนขาวที่ทําใหภาพพจนของความเปนนักแสดงชายเสียหาย
ซึ่งเมื่อเทียบกับการตกเปนขาววา “เจาชู” ที่เปนขาวเกี่ยวกับเรื่องเพศในทํานอง
เดียวกันแลวดาราชายหลายคนก็มักใหสัมภาษณในทํานองวา มีขาวเจาชูดีกวา
มีขาววาเปนเกย
อคติที่ยังลบไมหมด
การที่สังคมไทยยังคงมีอคติตอ “ชายรักชาย” อยูอยางไมเปลี่ยนแปลง
สวนหนึ่งเปนเรื่องของอิทธิพลจากวิชาการทางดานการแพทยที่ยังไมไดแกไข
ความเขาใจเรื่องการรักเพศเดียวกันใหชัดเจนวาไมไดเปนความผิดปกติทางเพศ
ในขณะที่อีกสวนหนึ่งเปนผลมาจากการที่ “ความเปนชายรักชาย” เปนสิ่งที่
ขัดแยงกับบรรทัดฐานและคานิยม “ความเปนชาย” ตามที่สังคมคาดหวัง เนื่อง
จากสังคมไทยเปนสังคมที่ยกยองเพศชายเปนใหญ และใหคุณคากับความเปน
ชายวามีสถานะสูงกวาความเปนหญิง ผูชายไทยตามบรรทัดฐานของสังคมไทย
ควรตองมีบุคลิกภาพของความเปนผูชายที่แข็งแรง ไมกระตุงกระติ้งแบบผูหญิง
มีความเปนผูนําทั้งในดานครอบครัวและสังคม ผูชายที่เปน “ชายรักชาย”
สุไลพร ชลวิไล