Page 204 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 204
บทที่ 4 เพศวิถี: ชายรักชาย 187
หลายคนจําเปนตองแตงงานกับผูหญิงดวยหลายเหตุผล ไมวาจะเพื่อกลบ-
เกลื่อนความเปน “ชายรักเพศเดียวกัน” ของตนเอง เพื่อตอบแทนพระคุณของ
พอแมที่หวังจะใหลูกเปนฝงเปนฝาและมีทายาทสืบสกุล หรือเพื่อความกาวหนา
และความมั่นคงในอาชีพการงานบางอาชีพ ผูชายขายบริการจํานวนไมนอย
ไมไดนิยามตนเองวาเปน “ชายรักชาย” แตก็สามารถมีเพศสัมพันธกับผูชายได
ดวยเหตุผลดานความจําเปนทางเศรษฐกิจ ซึ่งก็ตองปดบังไมใหครอบครัวรู
ขณะเดียวกันตนเองก็อาจจะมีแฟนเปนผูหญิง และมีเพศสัมพันธกับแฟนดวย
การไมสามารถเปดเผยความเปนตัวตนในความเปน “ชายรักชาย” หรือ
“ชายที่มีเพศสัมพันธกับชาย” ไดเพราะสังคมไมยอมรับนี้ ยอมสงผลกระทบไม
มากก็นอยตอภาวะสุขภาพทางเพศของ “ชายรักชาย“ และ/หรือ “ชายที่มี
เพศสัมพันธกับเพศเดียวกัน” ทั้งในแงการตัดสินใจที่จะไปปรึกษาปญหา หรือ
เขารับบริการทางดานสุขภาพดานตางๆ สําหรับผูที่ไมเปดเผยตัว และแมวา
บางคนอาจกลายอมรับและเปดเผยความเปนตนเองกับผูใหบริการดานสุขภาพ
แตก็ยังอาจจะตองเผชิญกับปญหาอีกอยูดี หากวาตนเองมีพฤติกรรมทางเพศ
ไมเปนไปตามกรอบความเปนตัวตนที่ผูใหบริการเขาใจ หรือรับรู เชน บุคลิก
ภายนอกดูเปนเกยที่ออกสาว หรือตุงติ้ง แตบทบาททางเพศเวลามีเพศสัมพันธ
กลับเปนฝายรุก เปนตน
ปจจุบันกระทรวงสาธารณสุขของไทยไดเปดคลินิกสําหรับชายรักชาย
ขึ้น เพื่อใหบริการกับผูชายที่มีเพศสัมพันธกับผูชายดวยกัน โดยไมไดคํานึงถึงวา
ผูชายคนนั้นจะมีตัวตนทางเพศภาวะ หรือตัวตนทางเพศวิถีเปนแบบใด (คือรวม
ทั้งเกย กะเทย และผูชายรักตางเพศที่มีเพศสัมพันธกับเกย และกะเทยเขาไว
ดวยกัน) การมองแบบเหมารวม โดยมองขามความแตกตางหลากหลายดาน
เพศภาวะ และเพศวิถีภายในกลุมชายที่มีเพศสัมพันธกับชายเชนนี้ อาจทําให
ผูรับบริการที่มาปรึกษาหรือรับบริการไมแนใจวาจะเขามารับบริการดีหรือไม
หรือไมกลาที่จะบอกเลาพฤติกรรมที่แทจริง หรือไมกลาเปดเผยเนื้อตัวรางกาย
ไดอยางสนิทใจกับผูใหบริการ ซึ่งยอมสงผลกระทบตอการตรวจวินิจฉัย
หาสาเหตุที่แทจริงของโรคได หรือไมอยางนั้นผูรับบริการก็อาจไมไดรับบริการ
ตรงตามความตองการที่แทจริง เนื่องจากผูใหบริการไมมีความละเอียดออนพอที่จะ
เขาใจตัวตนทางเพศภาวะ และเพศวิถีที่ซับซอนหลากหลายของผูรับบริการ
สุไลพร ชลวิไล