Page 393 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 393

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                    กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 335

                     ประเด็นที่ 1 ท่านคิดว่าระบบบริการสุขภาพของไทยในปัจจุบันมีความเหมาะสมกับการดูแลสุขภาพ

               ผู้สูงอายุมากน้อยเพียงใด
                     (1) ระบบค่อนข้างดีกว่าประเทศอื่นที่มีบริบทสังคมใกล้เคียงกัน ประเทศไทยมีระบบที่ลงชุมชนเยอะ
               เช่น อสส. อสม. มีสมาชิกกว่าล้านคน นอกจากนี้มีการแบ่งระยะผู้ป่วยตั้งแต่ระยะฉุกเฉินคือ acute care
               ระยะกลางคือ Intermediate care และระยะต่อมาคือการดูแลระยะยาว long-term care ซึ่งท าระบบลงไป
               เยอะมาก มีการสนับสนุนแพทย์เฉพาะทางหรือแพทย์ส าหรับอาการป่วยที่ต้องรับการรักษาเป็นพิเศษ

               มีคณะกรรมการขับเคลื่อนเรื่องผู้สูงอายุอู่มาก เช่น ระดับชาติคือ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ระดับท้องถิ่น
               คือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอ าเภอ (พชอ.) ซึ่งเป็นแนวทางที่ให้ชุมชนมีส่วนร่วม
               มากขึ้น ทั้งนี้ พชอ. ยังคงเป็นหน่วยขับเคลื่อนที่ดี เนื่องจากคณะกรรมการมาจากพื้นที่ ทั้งนายอ าเภอ

               สาธารณสุข ประชาชน การท างานจึงค่อนข้างตรงจุด อย่างไรก็ดี จะฝากทุกเรื่องกับ พชอ. ไม่ได้ ต้องดูตาม
               ความเหมาะสม แต่ถือเป็นหนึ่งกลไกที่จะช่วยเชื่อมโยงระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ
                     (2) ภาครัฐต้องสนับสนุนบทบาทของชุมชนในการพัฒนาระบบบริการผู้สูงอายุโดยเฉพาะการดูแล
               ระยะยาว (long term care) ภาระไม่ควรตกเป็นของภาครัฐฝ่ายเดียวควรต้องดึงชุมชนเข้ามีเป็นตัวแสดงหลัก
               ในฐานะที่ชุมชนเป็นพื้นที่ที่อยู่ของผู้สูงอายุ อีกทั้งมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ อาสาสมัคร

               เอกชน ที่ยังไม่เข้มแข็งหรืออาจจะไม่ทั่วถึงในบางพื้นที่
                     (3) ผู้สูงอายุในเขตเมืองกับชนบทมีความแตกต่างในการได้รับบริการทางสุขภาพ เป็นที่เข้าใจว่าในเขต
               เมืองย่อมได้รับการบริการที่ดีกว่า รวดเร็วกว่า สะดวกกว่า มีสิ่งอ านวยความสะดวกครบครัน แต่ข้อเท็จจริง

               ปรากฏว่า ในชนบทมีการดูแลผู้สูงอายุที่ดีกว่า เนื่องจากความเป็นสังคมชนบท ครอบครัวขยาย มีลูกหลานหรือ
               เพื่อบ้านที่มีความใกล้ชิด แม้ว่าผู้สูงอายุอยู่บ้านตามล าพังแต่ยังมีเพื่อนบ้านที่สามารถช่วยเหลือได้ ในขณะที่
               สังคมเมือง เช่น ในหมู่บ้านจัดสรร ผู้สูงอายุที่อยู่ตามล าพังขาดคนดูแล เพื่อนบ้านออกไปท างาน หากเป็น
               ครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีจะไม่น่าห่วงกังวล แต่ถ้าเป็นครอบครัวที่ฐานะทางเศรษฐกิจไม่สู้ดี หรือพื้นที่
               อาศัยเป็นชุมชนแออัดการได้รับการดูแล ตลอดจนการเข้าถึงบริการทางสุขภาพแทบเป็นไปไม่ได้ ซึ่งภาครัฐต้อง

               พยายามเข้าถึงคนเหล่านี้
                     (4) ระบบข้อมูลผู้ป่วยไม่เชื่อมถึงกัน เนื่องจากมีการรักษาหลายแห่ง และสังคมไทยนิยมรักษากับ
               แพทย์หรือโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ข้อมูลจึงถูกบันทึกไว้ในแต่ละแห่งโดยไม่เชื่อมถึงกัน

               ปัญหาที่ตามมาคือ ผู้ป่วยได้รับยาซ้ าซ้อน หากป่วยหลายอาการแต่รักษาในโรงพยาบาลเดียวในหลายแผนก
               แบ่งแยกตามอาการป่วยข้อมูลยังสามารถเชื่อมถึงกันได้ แต่ถ้าต่างโรงพยาบาลก็จะมีปัญหา การรักษาผู้สูงอายุมี
               ความเสี่ยงที่จะไปกระทบกับอาการป่วยอื่นได้ง่าย ฉะนั้น การรับยาจึงควรคัดกรองไม่ให้ซ้ าซ้อน คัดแยกตัวที่
               ทานร่วมกันไม่ได้ออก ทางออกคือ ต้องท า personal health record ให้คนไข้ถือข้อมูลของตัวเอง เพื่อการ
               รักษาหรือรับยาจะได้ทราบว่าก่อนหน้าได้รักษาหรือรับยาชนิดใดไปแล้วบ้าง

                     (5) การแยกระบบริการเฉพาะผู้สูงอายุในโรงพยาบาลเป็นเรื่องยาก ด้วยข้อจ ากัดของ บุคลากร
               มาตรฐาน สถานที่ หากเป็นโรงพยาบาลใหญ่อาจจะท าได้ แต่ส าหรับโรงพยาบาลเล็กเป็นเรื่องยาก
   388   389   390   391   392   393   394   395   396   397   398