Page 392 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 392

334 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

             แบบระยะยาวและให้สามารถน าเงินที่ได้จากการออมมาใช้หลังเกษียณอายุในรูปแบบบ าเหน็จหรือบ านาญ
             กองทุนเหล่านี้จัดตั้งขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการท างานในแต่ละสาขาอาชีพ และเพื่อให้เกิดการออมทั้ง
             ภาคบังคับและสมัครใจ ในการเตรียมความพร้อมของแรงงานส าหรับ การมีรายได้ในระดับที่เพียงพอส าหรับวัย

             เกษียณอายุ ซึ่งรัฐควรเข้ามาดูแลส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการออมมากขึ้นมากกว่าการเป็นหนี้สิน
                    ทั้งนี้การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ด้วยการออม ในรูปของการประกันสังคม และกองทุนการออม
             แห่งชาติ นั้น ในส่วนของการประกันสังคมภายใต้มาตรา 40 ที่ครอบคลุมแรงงานนอกระบบนั้น ประสบ
             ความส าเร็จในระดับหนึ่ง คือ มีผู้ประกันตนมากขึ้น เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงแรงงานอยู่ในพื้นที่ระดับ

             อ าเภอ และการเข้าหาสมาชิกในระดับหมู่บ้าน แต่กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ในระดับ
             ท้องถิ่นที่จะเป็นกลไกในการเข้าถึงกองทุน รัฐจึงควรมีบทบาทและเข้ามาดูแลให้มากขึ้น

                    ประเด็นความคิดเห็น – การจัดการทรัพย์สินและ/หรือมรดก

                    การจัดการทรัพย์สินและ/หรือมรดกของผู้สูงอายุอาจเกิดปัญหาได้ถ้าไม่มีการบริหารจัดการหรือการ
             ดูแลจากบุคคลที่ไว้วางใจได้ เช่น การบริหารสินทรัพย์ให้เกิดดอกผล การช าระหนี้ (ถ้ามี) หรือการตกทอดสู่รุ่น
             ลูกหลาน สิ่งเหล่านี้อาจท าให้เกิดปัญหากับผู้สูงอายุได้ ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรมี
             ความส าคัญในการเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนนโยบายและมาตรการดูแลผู้สูงอายุต่าง ๆ เนื่องจากกระทรวงหลักที่

             ด าเนินการเรื่องนี้ คือกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน และ
             กระทรวงการคลังในฐานะดูแลภาระทางการคลัง และการสนับสนุนการออมของประชาชน ได้ตระหนักถึง
             ความส าคัญและด าเนินการอย่างจริงจังมาอย่างต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุใน
             ทุก ๆ ด้าน การให้ความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทส าคัญย่อมท าให้เกิดความสมบูรณ์ของ

             โครงการมากยิ่งขึ้น

                    5.2.2 ผู้สูงอายุกับการคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต


                    ประเด็นการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตเป็นเรื่องใกล้ตัวส าหรับผู้สูงอายุ
             ด้วยอายุที่มากขึ้นท าให้สมรรถภาพทางกายและจิตใจเสื่อมถ้อย อาการป่วยแสดงออกได้ง่ายในช่วงวัยนี้ จึงต้อง
             เข้าพบแพทย์อยู่บ่อยครั้งเพื่อบรรเทาอาการป่วยดังกล่าว นอกจากนั้นการเป็นผู้สูงอายุมักถูกละเลยการปฏิบัติ
             ที่ดีหรือดูแลอย่างเหมาะสมเป็นเหตุให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแย่ลง

                    ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงได้จัดให้มีการประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการที่มี
             ประสบการณ์และความรู้ความสามารถ หรือมีบทบาทหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุด้านสุขภาพและ
             คุณภาพชีวิต ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการประชุมระดมความคิดเห็นสามารถสรุปได้เป็นประเด็น ดังนี้
   387   388   389   390   391   392   393   394   395   396   397