Page 391 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 391
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 333
295
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยมีจ านวนผู้เข้าร่วมให้ความคิดเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ รวม
296
จ านวนทั้งสิ้น 29 ราย
5.2.1 ผู้สูงอายุกับการคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจ
การคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องส าคัญและจ าเป็น ส าหรับการเข้าสู่สังคมสูงอายุ
ทั้งโอกาสในการท างานภายหลังเกษียณ เพื่อสร้างรายได้และการออม น าไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมี
ศักดิ์ศรี ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ การสร้างโอกาสในการเข้าถึงจึงเป็นสิ่งส าคัญ เพราะผู้สูงอายุในอนาคตจะมีบทบาท
ในภาคเศรษฐกิจมากขึ้นหากแนวโน้มของประชากรยังคงมีแนวโน้มที่วัยพึ่งพิงมีจ านวนลดน้อยลง
ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงได้จัดให้มีการประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการที่มี
ประสบการณ์และความรู้ความสามารถ หรือมีบทบาทหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุด้านเศรษฐกิจ ซึ่ง
ข้อมูลที่ได้จากการประชุมระดมความคิดเห็นสามารถสรุปได้เป็นประเด็น ดังนี้
ประเด็นความคิดเห็น – การมีงานท า
การท างานนั้นได้มีหน่วยงานทางราชการที่รับผิดชอบดูแลอยู่แล้ว แต่อยู่ภายใต้กฎการท างานตาม
หน่วยงานนั้น ๆ ที่รับผิดชอบเฉพาะส่วน เป็นการท างานเฉพาะในสายงานของตัวเอง ซึ่งเป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่
ควรมีการท างานร่วมกันในแต่ละหน่วยงาน เพื่อไม่ให้มีความซ้ าซ้อนกัน ทั้งนี้ในแต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบ
เกี่ยวกับผู้สูงอายุมีความพยายามท างานแบบบูรณาการเข้าไป ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ยังคงต้องใช้เวลา
นอกเหนือจากหน่วยงานทางราชการที่รับผิดชอบแล้ว ทางด้านท้องถิ่น/ชุมชน รวมทั้งเอกชนควรมี
บทบาทมากขึ้น ทั้งนี้เหตุผลที่ผู้สูงอายุท างานมี 3 ประการที่ส าคัญ คือ 1) เหตุผลทางด้านเศรษฐกิจและความ
มั่นคงของรายได้ 2) เหตุผลทางสังคม เพราะอยากช่วยสังคม ไม่อยากอยู่ว่าง อยากออกสังคม และ 3) เหตุผล
ด้านสุขภาพ ท างานต่อเพราะสุขภาพยังดี และ/หรือ ท างานเพื่อรักษาสุขภาพทั้งสุขภาพจิตและสุขภาพกาย
ทั้งนี้ปัญหาส าคัญอย่างมากคือการกระจายอ านาจการท างานยังขาดความทั่วถึง ยังไม่มี “โซ่ข้อกลาง” ในการ
ประสานงานจากผู้มีอ านาจสูงสุด ลงสู่ชุมชน และหัวหน้าชุมชน ท าให้ขาดขั้นตอนการประสาน และส่งต่อไม่ถึง
ผู้สูงอายุโดยตรง จึงเสนอแนะให้ทางส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีแนวคิดในการน าผลหรือ
ค าแนะน าส่งตรงกับผู้มีอ านาจโดยตรง เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลอย่างดีที่สุด และท างานได้จริง
ประเด็นความคิดเห็น – การออม
ผู้สูงอายุเราไม่ค่อยมีการออม แทนที่จะจัดการเรื่องออม ควรไปจัดการเรื่องหนี้สินดีกว่า แต่ในประเทศ
ไทยก็มีการจัดให้มีกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุหลายกองทุน ได้แก่ กองทุนประกันสังคม กองทุน
บ าเหน็จบ านาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนส ารองเลี้ยงชีพ (กสล.) กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และก าลัง
อยู่ระหว่างจัดตั้งกองทุนบ าเหน็จบ านาญแห่งชาติ (กบช.) ขึ้น โดยกองทุนเหล่านี้จัดให้แรงงานได้ออมในกองทุน
295 รายละเอียดในภาคผนวก 2
296 โปรดดูรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมระดมความคิดเห็นในภาคผนวก 5