Page 21 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 21
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | xv
นอกจากนี้ช่องว่างของมาตรการทางกฎหมายในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เนื่องจาก
นิยามค าว่า “ผู้สูงอายุ” ตามฉบับนี้หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุเกินกว่า 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย ท า
ให้การคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท างานหรือลี้ภัยในประเทศไทย ไม่ได้รับสิทธิที่จะได้รับ
สวัสดิการและการช่วยเหลือจากรัฐทั้งปวง แม้ว่าบุคคลเหล่านั้นจะเป็นผู้ที่เสียภาษีอากรให้รัฐ อันแสดงให้เห็น
ถึงความเหลื่อมล้ าและการเลือกปฏิบัติ
2. การคุ้มครองผู้ถูกกระท าด้วยความรุนแรงในครอบครัว: แม้ว่ากฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระท า
ด้วยความรุนแรงในครอบครัว จะเป็นกฎหมายที่มีประโยชน์ต่อการคุ้มครองและช่วยเหลือผู้สูงอายุเป็นย่างมาก
แต่พบว่า มีช่องว่างทางกฎหมายในเรื่องของการให้น้ าหนักกับการไกล่เกลี่ยและวิธีการยุติความขัดแย้ง รวมไป
ถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้มุ่งคุ้มครองรักษาสถาบันครอบครัวเป็นหลัก มิได้ค านึงถึงผลกระทบทางสิทธิ
มนุษยชนของผู้สูงอายุ ที่อาจเป็นสาเหตุให้ผู้สูงอายุถูกกระท าและเผชิญกับความรุนแรงซ้ า
นอกจากนี้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้ถูกกระท ารุนแรงในครอบครัวมีการบัญญัติ
คุ้มครองสิทธิบุคคลจากการกระท าที่รุนแรงและการละเมิดเป็นการทั่วไป มิได้เจาะจงถึงการคุ้มครองผู้สูงอายุไว้
เป็นการเฉพาะ ท าให้ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อาจละเลยให้ความส าคัญกับผู้สูงอายุ แต่กลายเป็นว่า
ปฏิบัติเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป ไม่ได้ค านึงว่าผู้สูงอายุเป็นบุคคลพิเศษและมีความเปราะบาง
ในมาตรการทางกฎหมายการคุ้มครองผู้เสียหายที่เป็นผู้สูงอายุที่ถูกกระท าความรุนแรงใน
ครอบครัว ในกรณีที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้สูงอายุไม่กล้าหรือกลัวที่จะแจ้งเจ้าหน้าที่ หรือมีผู้ข่มขู่ไม่ให้แจ้ง และ
ปัจจัยส าคัญที่ท าให้ผู้สูงอายุไม่ด าเนินคดีหรือแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากมีความกังวลว่าผู้กระท าความ
รุนแรง ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นญาติสนิทหรือลูกหลานจะถูกด าเนินคดีตามกฎหมาย ดังนั้นในบริบทสังคมไทย
ผู้สูงอายุจึงมักจะไม่เข้าสู่กลไกในทางกฎหมายกรณีเป็นเหยื่อหรือผู้เสียหาย
3. การปฏิบัติของหน่วยงานในการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ: จากการศึกษาพบว่าแนวปฏิบัติของ
หน่วยงานราชการในเรื่องสิทธิผู้สูงอายุที่จะได้รับการป้องกันและช่วยเหลือจากปัญหาความรุนแรงและการ
ละเมิดซึ่งก าหนดไว้ในปฏิญญาผู้สูงอายุนั้นมิได้มีสภาพบังคับแต่อย่างใด ท าให้ในทางปฏิบัติการด าเนินการเพื่อ
ป้องกัน แก้ไขและให้การช่วยเหลือผู้สูงอายุจากปัญหาความรุนแรงและการละเมิดนั้นยังไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร
นอกจากนี้ ในการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความรุนแรงและการกระท าละเมิดในผู้สูงอายุนั้น จะเห็น
ได้ว่ามีหน่วยงานจากหลาย ๆ กระทรวง มีบทบาท มีอ านาจหน้าที่ในการด าเนินการแก้ไข แต่ขาดการบูรณา
การ ผสานความร่วมมือกัน แต่อย่างไรก็ดีจากการสัมภาษณ์และการส ารวจ ได้รับทราบถึงสภาพปัญหาของ
การปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ เช่น เจ้าหน้าที่ทางปกครอง ต ารวจ อัยการหรือศาล มักมีมุมมองว่า การที่
ผู้สูงอายุถูกกระท าความรุนแรงหรือการละเมิดในครอบครัวนั้นเป็นปัญหาส่วนตัวหรือปัญหาครอบครัว มุมมอง
ดังกล่าว จึงกลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาวิธีการใหม่ ๆ ที่อาจจ าเป็นต่อการแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน
ครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) ปัญหาเกี่ยวกับความสามารถในทางกฎหมาย (Legal Capacity) ของผู้สูงอายุ:
ปัจจุบันกฎหมายไทยไม่ได้ก าหนดความสามารถตามกฎหมายของผู้สูงอายุออกมาเป็นการเฉพาะ
แยกต่างหากจากบุคคลธรรมดา ท าให้เวลาที่บังคับใช้กฎหมายในด้านความสามารถของผู้สูงอายุเกิดความ