Page 22 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 22

xvi | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

             สับสนและไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้สูงอายุเป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้
             ความสามารถ อันเป็นเหตุให้ในหลายกรณีผู้สูงอายุอาจต้องถูกเอารัดเอาเปรียบและถูกหลอกลวงโดยเฉพาะ
             เรื่องที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน

                       นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังขาดการรับรู้และเข้าไม่ถึงการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสามารถในทาง
             กฎหมาย ท าให้ไม่ทราบว่าตนสามารถท าหรือจัดการใด ๆ ได้บ้าง ปัจจุบันมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
             ได้ก าหนดเกี่ยวกับความสามารถของผู้ไร้ความสามารถหรือผู้เสมือนไร้ความสามารถ ซึ่งจะได้รับการจัดการดูแล
             เกี่ยวกับทรัพย์สินโดยผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แต่ไม่ครอบคลุมถึงการให้การดูแลความเป็นอยู่ ชีวิตประจ าวันหรือ

             เรื่องสุขภาพ รวมถึงไม่มีกฎหมายตรวจสอบหน้าที่หรือการจัดการของผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ที่ศาลมีค าสั่งแต่ง
             ตั้งแต่อย่างใด
                       (3) ปัญหาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม (Access to Justice):
                       ปัจจุบันไม่มีการบัญญัติคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในกระบวนการยุติธรรมเป็นพิเศษ แม้ว่าในความ

             เป็นจริงผู้สูงอายุเป็นกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะเปราะบางและควรได้รับการคุ้มครองสิทธิพิเศษเช่นเดียวกับเด็ก
                       ส าหรับมาตรการทางกฎหมายในการให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือผู้สูงอายุในกระบวนการ
             ยุติธรรม ยังไม่มีการให้ความส าคัญกับการน ากระบวนยุติธรรมทางเลือก เช่นการไกล่เกลี่ย การประนีประนอม
             ยอมความมาใช้เท่าที่ควร และหากเลือกที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ก็พบว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยากและมี

             ค่าใช้จ่าย ท าให้เกิดความไม่สะดวกแก่ผู้สูงอายุที่ยากไร้และไม่มีที่ปรึกษา ท าให้ผู้สูงอายุเลือกที่นิ่งเฉยไม่น า
             ตนเองเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
                       ส าหรับการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย การคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุใน
             กระบวนการยุติธรรมนั้น มีหลายหน่วยงานของรัฐที่มีอ านาจหน้าที่ในส่วนดังกล่าว แต่ยังขนาดการบูรณาการ

             เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความ
             ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุในระดับชุมชน
                    11) ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาด้านกระบวนการยุติธรรม
                       (1) ข้อเสนอแนะด้านกฎหมาย:

                       1. ควรปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระท าความรุนแรงในครอบครัว ให้มีเจตนารมณ์
             หรือความมุ่งหมายคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้สูงอายุมากขึ้น และก าหนดให้มีมาตรการในการเข้าสู่
             กระบวนการยุติธรรมทางเลือกอย่างเป็นรูปธรรม หน่วยงานหลัก คือ กระทรวงยุติธรรม ส านักงานต ารวจ
             แห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

                       2. ควรก าหนดขั้นตอนในกระบวนพิจารณาคดีในชั้นต่าง ๆ ให้ค านึงถึงความเปราะบางของสภาพ
             จิตใจของผู้สูงอายุที่ถูกกระท าละเมิด โดยอาจใช้วิธีเดียวกับการสอบสวน และการด าเนินคดีกับเด็กและเยาวชน
             หน่วยงานหลัก คือ กระทรวงยุติธรรม และส านักงานต ารวจแห่งชาติ ร่วมประสานงานกับกระทรวงการพัฒนา
             สังคมและความมั่นคงของมนุษย์

                       3. ควรตรากฎหมายเพื่อก ากับดูแลและตรวจสอบผู้ดูแลและให้ความยินยอมในการจัดการ
             ทรัพย์สินของผู้สูงอายุที่บกพร่องด้านความสามารถในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเสียหรือเสื่อมสิทธิ เช่น การให้
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27