Page 18 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 18

xii | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

             สุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการรับรู้และความเข้าใจในสิทธิของตัวผู้สูงอายุเอง และความเท่าเทียมกันใน
             การได้รับบริการระหว่างระหว่างผู้สูงอายุในเขตเมืองกับในชนบท รวมทั้ง ปัญหาการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ
             เนื่องจากกระบวนการขั้นตอนมีความยุ่งยาก มีค่าใช้จ่ายสูง ได้รับการปฏิบัติอย่างมีอคติจากผู้ให้บริการ และมี

             ปัญหาในการเดินทางเพื่อไปรับการรักษายังสถานพยาบาล
                         3. ปัญหาระบบหลักประกันสุขภาพ: การเข้าถึงสิทธิของผู้สูงอายุด้านสวัสดิการสุขภาพ
             3 ระบบ ได้แก่ ระบบประกันสังคม ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และระบบหลักประกันสุขภาพ
             ถ้วนหน้า หรือบัตรทอง ทั้งในส่วนการรักษาตลอดจนการดูแลระยะยาวยังไม่มีความเท่าเทียม โรงพยาบาลให้

             เลือกใช้บริการมีการจ ากัด และเรื่องความน่าเชื่อถือด้านคุณภาพการบริการ การส่งต่อในกรณีฉุกเฉิน
                         4. ปัญหาความเชื่อมโยงของข้อมูลในการดูแลรักษาผู้สูงอายุ: ระบบข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยยัง
             ไม่สามารถเชื่อมโยงถึงกันในหน่วยบริการต่าง ๆ เนื่องจากผู้สูงอายุในสังคมไทยนิยมรักษากับแพทย์หรือ
             โรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ข้อมูลจึงถูกบันทึกไว้ในแต่ละแห่งโดยไม่เชื่อมถึงกัน ปัญหาที่ตามมา

             คือ ผู้ป่วยที่ผู้สูงอายุมักได้รับยาซ้ าซ้อน (polypharmacy) ซึ่งยาเหล่านั้นอาจมีผลข้างเคียงต่ออาการของโรค
             อื่นที่เป็นอยู่ด้วย
                         5. ปัญหาการถูกเลือกปฏิบัติของผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการด้านสาธารณสุข: จากผลการส ารวจ
             ผู้สูงอายุประสบเหตุการณ์ที่ถูกเลือกปฏิบัติหลากหลายจากเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลที่ปฏิบัติไม่เหมาะสม ใช้

             ค าพูดไม่สุภาพ อย่างไรก็ตาม จากการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานการวิจัย มีผู้แสดงความเห็นว่า
             ผู้ให้บริการก็ควรได้รับสิทธิในฐานะผู้ให้บริการ เช่นเดียวกับสิทธิของผู้รับบริการด้วย ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ยิ่ง
             สะท้อนปัญหาความไม่เหมาะสมของสภาพการให้บริการด้านสุขภาพของไทยได้อย่างชัดเจน
                        (2) การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและระยะสุดท้าย (long-terms and palliative care):

                         1. ปัญหาการขาดหลักเกณฑ์ทางกฎหมายในการวางระบบการดูแลระยะยาว: ผู้สูงอายุบางกลุ่ม
             จ าเป็นต้องได้รับการดูแลในระยะยาว แต่พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ซึ่งเป็นกฎหมายหลักที่เกี่ยวกับ
             การส่งเสริม การดูแล และการคุ้มครองผู้สูงอายุ กลับไม่มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการดูแลระยะยาว ในทางปฏิบัติ
             เกิดปัญหาด้านการจัดการให้บริการ เช่น การจ่ายค่าตอบแทนให้ care givers ที่ยังไม่มีระเบียบรองรับการ

             เบิกจ่าย
                         2. ปัญหาการขาดเกณฑ์และกลไกการก ากับดูแลมาตรฐานของสถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาว:
             ในปัจจุบันยังไม่มีการก าหนดมาตรฐานกลางของสถานรับดูแล ยังไม่มีกฎหมายก ากับดูแลให้มีคุณภาพ และยัง
             ขาดหน่วยงานรับผิดชอบการขึ้นทะเบียนและก ากับดูแลสถานรับดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงที่มีปัญหา

             ด้านสุขภาพโดยตรง
                         3. ปัญหาการขาดมาตรการส่งเสริมให้ครอบครัวเข้ามามีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว:
             ประชาชนยังคงพึ่งพาหน่วยบริการภาครัฐมากเกินไป โดยที่ภาครัฐมีปัญหาขาดแคลนบุคลากรและอุปกรณ์
             ทางการแพทย์ จึงจ าเป็นต้องสร้างระบบการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ (self-care) ให้ประชาชนสามารถดูแล

             ตนเองได้โดยมีพื้นที่เป็นผู้สนับสนุน ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายหรือมาตรการส่งเสริมให้ครอบครัวเป็นผู้ดูแล
             ผู้สูงอายุเอง รวมถึงการส่งเสริมให้ทุกวัยอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23