Page 19 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 19
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | xiii
9) ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อผู้สูงอายุด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต
(1) ข้อเสนอแนะด้านกฎหมาย:
1. ควรออกระเบียบเพื่อวางหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ให้การรับรอง
การเข้าถึงสิทธิของผู้สูงอายุในการได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยหน่วยงานหลักในการ
ด าเนินการ คือ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ โดยประสานกับกระทรวงการคลัง
2. ควรออกกฎหมายเพื่อวางระบบรองรับการดูแลระยะยาว เช่น หลักเกณฑ์การจ่าย
ค่าตอบแทนให้ Care givers หน่วยงานหลัก คือ กระทรวงสาธารณสุข โดยส านักงานหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ ร่วมประสานงานกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการคลัง และ
กระทรวงมหาดไทย
3. ควรออกระเบียบเพื่อวางเกณฑ์มาตรฐานและกลไกการก ากับดูแลมาตรฐานในการดูแล
ผู้สูงอายุระยะยาว โดยอาจน าแบบอย่างในประเทศอังกฤษซึ่งมีการวางกลไกการก ากับดูแลมาตรฐานไว้อย่าง
เป็นระบบ หน่วยงานหลัก คือ กระทรวงสาธารณสุข ส านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกระทรวงการ
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม
4. ควรออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้ครอบครัวสามารถดูแลผู้สูงอายุได้เอง ตลอดจนชุมชน และ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วม โดยอาจน าแบบอย่างจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีการให้อ านาจแต่ละ
จังหวัดจัดตั้งกองทุนขึ้นส าหรับการดูแลสุขภาพและการดูแลรักษาระยะยาวในชุมชน และสนับสนุนโครงการ
ดูแลรักษาพยาบาลที่บ้าน หน่วยงานหลัก คือ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ
มั่นคงของมนุษย์ ประสานกับกระทรวงสาธารณสุข
(2) ข้อเสนอแนะด้านนโยบาย:
1. การเข้าถึงสิทธิของผู้สูงอายุด้านสุขภาพ ควรปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อ
สร้างความชัดเจนเรื่องความเหลื่อมล้ าของสวัสดิการสุขภาพ 3 ระบบ รวมถึงความเหลื่อมล้ าในระดับโครงสร้าง
ทางสังคมระหว่างสังคมเมืองและต่างจังหวัด ขยายการให้บริการทางการแพทย์ให้ทั่วถึงเพื่อลดความแตกต่าง
ระหว่างผู้สูงอายุในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท โดยกระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงมหาดไทย (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ก าหนดนโยบายการ
ประกันสุขภาพ เป็นนโยบายหลักประการหนึ่งของหน่วยงาน
2. ควรวางระบบความเชื่อมโยงของข้อมูลการดูแลรักษาผู้สูงอายุรายบุคคล (Personal health
record) เพื่อลดปัญหาผู้สูงอายุได้รับยาซ้ าซ้อน (Polypharmacy) ตลอดจนสามารถวางแผนการดูแลสุขภาพ
ของผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยกระทรวงสาธารณสุข ก าหนดการจัดท าฐานข้อมูลสุขภาพ
รายบุคคล เป็นนโยบายหลักประการหนึ่งของหน่วยงาน
3. ภาครัฐควรส่งเสริมให้ภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาจัดท าบริการในด้าน
การดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว แล้วรัฐเป็นผู้วางเกณฑ์มาตรฐานและกลไกการก ากับดูแลมาตรฐาน (Regulator)
โดยคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ก าหนดเป็นนโยบายหลักประการหนึ่งในการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ